รูปแบบบทความวิจัย

ส่วนประกอบของบทความวิจัยตามข้อกำหนด รายวิชา 450 112 การศึกษาเอกเทศ

  1. บทคัดย่อ (Abstract) เสนอวัตถุประสงค์ของการวิจัย สมมติฐาน วิธีการวิจัย และผลการวิจัยโดยสรุป
  2. บทนำ (Introduction)
    • การบรรยายให้เห็นพัฒนาการของผลการวิจัยก่อนหน้านี้ ความเป็นมา ความสำคัญ และนำเข้าสู่คำถามการวิจัย
    • วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    • สมมติฐานของการวิจัย
    • วิธีการวิจัย เสนอสาระของวิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย ลักษณะของประชากร กลุ่มตัวอย่าง และการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง การนิยามตัวแปร เครื่องมือวิจัยและคุณภาพเครื่องมือ วิธีการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และข้อสังเกตเกี่ยวกับวิธีการวิจัยที่ใช้
    • การทบทวนวรรณกรรม รายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในส่วนทฤษฎี และงานวิจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องและนำมาสู่การวิจัยครั้งนี้
  3. ผลการวิจัย/ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Results) เสนอเนื้อหาบรรยายแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมาย โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่ในลักษณะของตารางหรือรูปนั้นจะต้องมีรายละเอียด คำอธิบาย เพื่อบรรยายข้อมูลดังกล่าว มิใช่เสนอเฉพาะตารางและรูปโดยไม่มีการบรรยาย
  4. สรุปและอภิปรายผล (Discussion / Conclusion) เสนอข้อค้นพบโดยสรุป อธิบายข้อค้นพบที่ขัดแย้ง หรือสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยมีเหตุผลประกอบ อภิปรายข้อบกพร่อง ข้อจำกัด ข้อดีของการวิจัยซึ่งนำไปสู่การให้ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหรือวิจัยต่อไป
  5. การอ้างอิงและภาคผนวก (References / Appendix) ประกอบด้วยบรรณานุกรม เชิงอรรถ บันทึกหรือหมายเหตุของผู้วิจัย ส่วนภาคผนวกเป็นส่วนที่ผู้วิจัยต้องการเสนอสาระให้ผู้อ่านได้รับรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่เสนอในบทความ

หมายเหตุ :

  1. ในการเขียนบทนำ ผู้เขียนอาจจะแยกเสนอทีละประเด็นอย่างชัดเจนเป็นหัวข้อ ๆ ไป คือ ความเป็นมา ความสำคัญ และคำถามการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย สมมติฐานการวิจัย วิธีการศึกษา และการทบทวนวรรณกรรม/เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  2. การเสนอผลการวิจัย ควรแบ่งเป็นประเด็นและนำเสนอทีละหัวข้อตามวัตถุประสงค์การวิจัย
  3. ความยาวของบทความ จำนวนตั้งแต่ 10-15 หน้า ขึ้นไป
  4. ใช้อักษร Th Sarabun New ขนาด 16
  5. ใช้การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา ระบบ นาม-ปี

ดาวน์โหลด แบบฟอร์มบทความวิจัย
icon-pdf