เพศสภาพและความรุนแรงในภาวะสงคราม กรณีศึกษา สงครามญี่ปุ่น – จีน ครั้งที่ 2 ณ สมรภูมิรบนานกิง

โดย นางสาวณหทัย กรรณสูต

บทคัดย่อ

การศึกษางานวิจัยในหัวข้อ เรื่อง เพศสภาพและความรุนแรงในภาวะสงคราม กรณีศึกษา สงครามญี่ปุ่น – จีน ครั้งที่ 2 ณ สมรภูมิรบนานกิง มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับเพศสภาพ รวมทั้งความรุนแรงในภาวะสงคราม โดยศึกษาจากการรวบรวมข้อมูลจากสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต พร้อมทั้งนำมาวิเคราะห์ผ่านแนวความคิดที่เกี่ยวข้องผลจากการศึกษาพบว่า สภาพสังคมของญี่ปุ่นและจีนในช่วงภาวะสงครามนั้น มีการแบ่งแยกชนชั้นออกเป็น 2 ชนชั้น คือ 1. ชนชั้นสูง และ 2. ชนชั้นสามัญชน และในแต่ละชนชั้น ในแต่ละเพศ ก็มีบทบาทหน้าที่แตกต่างออกไป อย่างเช่น เพศชายชนชั้นสูง จะมีหน้าที่เป็นผู้นำสูงสุดของกองทัพ คอยสั่ง หรือวางแผนต่าง ๆ ในการบ ส่วนเพศชายชนชั้นสามัญชนจะต้องออกไปเกณฑ์ทหารเพื่อออกรบ ในส่วนเพศหญิงชนชั้นสูง จะมีหน้าที่คอยสนับสนุนเกื้อกูล หรือเป็นที่ปรึกษาที่ดีของสามีตนเอง ส่วนเพศหญิงสามัญชนจะออกไปทำงานนอกบ้านทดแทนในส่วนแรงงานที่ขาดหายไป และความรุนแรงทางตรงที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สิน หรือต่อตัวบุคคลในภาวะสงครามนั้น มีที่มามาจากความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ที่มาเป็นตัวกำหนดให้เกิดความได้เปรียบ หรือเสียเปรียบในภาวะสงครามและความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม ที่มาเป็นตัวรองรับให้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในภาวะสงครามให้เป็นเรื่องที่ถูกต้อง หรือยอบรับได้

จากการนำแนวความคิดมาวิเคราะห์พบว่า เพศสภาพมีการปรับเปลี่ยนไปตามเวลาและตามบริบททางสังคม เศรษฐกิจ หรือการเมือง ดังเช่น เมื่อญี่ปุ่นและจีนตกอยู่ภายใต้ภาวะสงคราม บทบาทหน้าที่ในแต่ละชนชั้น ในแต่ละเพศ ช่วงก่อนสงคราม หรือระหว่างสงครามย่อมมีความแตกต่างกันออกไป และบทบาทหน้าที่ที่มีความแตกต่างกันเหล่านี้ ได้ก่อให้เกิดเป็นความรุนแรงประเภทต่าง ๆ ในสงคราม เช่น การออกกฎหมายบังคับให้ชายทุกคนไปเกณฑ์ทหาร, การเข่นฆ่า, หรือการข่มขืน เป็นต้น

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf