การเดินทางศึกษาพระพุทธศาสนาสู่แดนตะวันตกของพระถังซำจั๋ง

โดย นางสาวชนิตา จิตสำรวย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติการเดินทางจาริกแสวงบุญของพระถังซำจั๋งและสภาพการณ์ของศาสนาพุทธในอินเดียในยุคที่พระถังซำจั๋งเดินทางไปจาริกแสวงบุญ โดยใช้ข้อมูลขั้นทุติยภูมิ ประกอบด้วยหนังสือ งานวิจัย บทความทางวิชาการและสารนิพนธ์ระดับบัณฑิตเป็นเอกสารประกอบการวิจัย ผลการศึกษาสรุปได้ว่าในช่วงที่พระถังซำจั๋งอยู่ในอินเดีย พุทธศาสนาในอินเดียกลายเป็นศาสนาแห่งพิธีกรรมพุทธศาสนา นิกายมหายานรุ่งเรืองมาก   เนื่องจากมีปัยจัยสำคัญคือกษัตริย์ พระเจ้าศีลาทิตย์ทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนามหายานได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและอุปถัมภ์บำรุงมหาวิทยาลัยนาลันทา อันเป็นมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาแห่งแรกของโลก ในช่วงเวลาที่พระถังซำจั๋งสืบค้นเล่าเรียนพุทธศาสนานั้น นอกเหนือจากที่มหาวิทยาลัยนาลันทาแล้ว ยังได้ออกศึกษาธรรมไปยังแคว้นต่างๆ หากพบว่ามีพระอาจารย์ท่านใดมีความรู้แตกฉานเฉพาะทาง  แม้ว่าบางท่านอาจจะเป็นพระอาจารย์ในลัทธินิกายอื่น ก็จะแวะพักเพื่อศึกษาคัมภีร์กับท่านผู้รู้เหล่านั้น  หรืออาจสอบถามวิสัชนาธรรมในความรู้ที่ตนมีอยู่แล้วให้เข้าใจกระจ่างชัดยิ่งขึ้น  รูปแบบการจาริกไปชมพูทวีปของท่าน   จึงเป็นแบบนมัสการพุทธสถานพร้อมกับการศึกษาวิสัชนาธรรม

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf