อุตสาหกรรมการบินในมณฑลส่านซี

โดย นางสาวพรสิมา  เมธังกร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิวัฒนาการ ภาพรวมอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบิน อุปสรรคการพัฒนาการบินสายสาขา ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมการบินในฐานการบินมณฑลส่านซี ข้อมูลที่นำมาศึกษาและวิเคราะห์ในครั้งนี้ เป็นการศึกษาค้นคว้าและเก็บรวบรวมจากหนังสือ ข่าว บทความในวารสารและหนังสือพิมพ์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากอินเทอร์เน็ต โดยข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลของท่าอากาศยานนานาชาติซีอานมณฑลส่านซีในประเทศจีน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำเป็นตาราง การศึกษาและวิเคราะห์ใช้วิธีเชิงปริมาณ (Quantitative Method) ผลการศึกษาพบว่า

วิวัฒนาการของเครื่องบินเริ่มต้นจากมนุษย์มีความฝันที่จะบินได้เหมือนนกและความคิดนี้ได้ทำให้มนุษย์พยายามเสาะแสวงหาวิธีการที่จะทำให้มนุษย์บินได้ ในปีค.ศ.1060 แต่ความพยายามของมนุษย์ก็ไม่ได้ลดละ จนในที่สุดก็ประสบความสำเร็จเมื่อสองพี่น้องตระกูลมองต์โกลฟิเอร์ ชาวฝรั่งเศสนำบัลลูนขึ้นสู่ฟากฟ้าได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1783 โดยจุดไฟไว้ด้านล่างเพื่อให้อากาศภายในร้อนทำให้เบากว่าอากาศข้างนอกและสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานถึง 25 นาที และพัฒนาต่อมาหลากหลายรุ่น เช่น โบอิ้ง บี 52 ล็อคฮีต ซี-130 ล็อดฮีดเอสอาร์71 โบอิ้ง747 เป็นต้น อีกทั้งภาพรวมของอุตสากรรมการผลิตเครื่องบิน เหมาเจ๋อตุงได้ริเริ่มที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินของจีน แต่จีนยุคนั้นยังไม่มีพื้นฐานอุตสาหกรรมการบินใดใด และเพิ่งก่อตั้งประเทศ จึงยังยากจนอยู่จีนจึงได้ติดต่อขอความช่วยเหลือให้สหภาพโซเวียตถ่ายทอดวิทยาการความรู้ให้ โดยเริ่มต้นตั้งเป้าหมายไว้ที่ “อุตสาหกรรมการซ่อมแซมเครื่องบิน” ต่อมา ได้ลองร่วมมือกับต่างชาติวิจัยและผลิตเครื่องบิน แต่เนื่องด้วยขาดบุคลากรด้านเทคนิค ความร่วมมือดังกล่าวจึงไม่สัมฤทธิ์ผล ดังนั้นการร่วมมือหรือร่วมทุนกับต่างชาติไม่ได้ช่วยเพิ่มสมรรถภาพการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบิน ดังนั้น จีนจะต้องพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมของตน และเป็นผู้ควบคุมเทคโนโลยีหัวใจสำคัญในการสร้างเครื่องบินเชิงพาณิชย์ให้ได้ ปณิธานดังกล่าวจึงก่อเกิดเป็นโครงการการผลิตเครื่องบิน ARJ21 ซึ่งเป็นเครื่องบิน turbo fan ลำแรกที่จีนจะได้ครอบครองกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา

อุปสรรคในการพัฒนาการบินสายสาขาในจีน คือบริษัทการบินของจีนส่วนใหญ่ให้บริการเส้นทางการบินสายหลัก การให้บริการสายสาขาในจีนนั้นถือว่ายังมีสัดส่วนน้อยมาก เนื่องจากกิจการเส้นทางโดยสารสายสาขามีต้นทุนที่สูง แต่ให้ผลกำไรต่ำ อีกทั้งยังมีการพัฒนาทางด่วนยกระดับ และขยายขนาดทางรถไฟ ทำให้ผู้คนมีทางเลือกมากขึ้น ส่งผลให้การบินสายสาขามีสัดส่วนน้อย

ส่านซีเป็นฐานอุตสาหกรรมการบินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน โดยนครซีอานมีความคล้ายคลึงกับเมืองแห่งเครื่องบินของซีแอตเทิลในสหรัฐฯ คือ เป็นฐานครบวงจรด้านการบินตั้งแต่การออกแบบ การทดสอบโครงสร้างและระบบ การผลิตและประกอบชิ้นส่วนสำคัญของเครื่องบิน การตรวจสอบมาตรฐานและทดลองการบิน การจัดจำหน่าย เรียกได้ว่าซีอานมีปัจจัยในการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินที่ดีที่สุดในประเทศจีน โดยใช้ยุทธศาสตร์ให้มี อุตสาหกรรมหลัก อุตสาหกรรมรอง และอุตสาหกรรมประกอบ รวมไปถึงกลยุทธ์ 1 ฐาน 4 เขต ในการผลิตเครื่องบิน

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf