ประวัติศาสตร์มังงะแนว Boy’s love : ภาพสะท้อนเรื่องเพศในสังคมญี่ปุ่นกับกระแสความนิยมในไทยช่วง 1996 – ปัจจุบัน

โดย นางสาวนุชอาภา อาแว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “ประวัติศาสตร์มังงะแนว Boy’s love : ภาพสะท้อนเรื่องเพศในสังคมญี่ปุ่นกับกระแสความนิยมในไทยช่วง 1996 – ปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของมังงะแนว Yaoi หรือชายรักชายที่สะท้อนถึงทัศนคติเรื่องเพศในสังคมญี่ปุ่น และกระแสความนิยมในไทย โดยใช้วิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ และสืบค้นข้อมูลจากเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัย

ผลการศึกษาพบว่ามังงะแนว Yaoi ส่วนใหญ่เป็นผลงานของนักเขียนหญิง และกลุ่มนักอ่านที่นิยมมังงะแนวนี้มักจะเป็นผู้หญิง ซึ่งในด้านจิตวิทยาการพบว่า อ่านมังงะแนว Yaoi ของผู้หญิงญี่ปุ่นเป็นความต้องการที่จะหลุดพ้นจากความไม่เท่าเทียมกันเรื่องเพศในสภาพสังคมชายเป็นใหญ่ มังงะแนว Yaoi ได้เริ่มเผยแพร่เข้ามาในไทยช่วง 1996 และได้รับความนิยมในไทยอย่างสูงในกลุ่มนักอ่านช่วงอายุ 12-35 ปีโดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิง ซึ่งคล้ายกับในญี่ปุ่น  ความนิยมในมังงะแนว Yaoi ค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นจนกลายเป็นวัฒนธรรม  Yaoi ไม่ได้เป็นเพียงแค่หนังสือการ์ตูน แต่ยังขยายไปสู่อุตสาหกรรมบันเทิงในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่นำเสนอโดยตรงและสอดแทรกในเนื้อเรื่องหลัก และยังต่อยอดไปถึงการผลิตสินค้าต่างๆ ที่เกี่ยวกับแนว Yaoi อีกด้วย เช่น รูปวาด พวงกุญแจ สติกเกอร์ ที่คั่นหนังสือ เป็นต้น นอกจากกลุ่มคนที่นิยมมังงะแนว Yaoi แล้ว ความคล้ายคลึงกัน อีกประการระหว่างสังคมญี่ปุ่นกับสังคมไทยคือ การถกเถียงถึงความไม่เหมาะสมในแง่ของการเป็นสื่อลามก อย่างไรก็ตาม พบว่าการเปิดรับมังงะแนว Yaoi ในแง่ของความหลากหลายทางเพศในไทยได้รับการยอมรับมากกว่าในญี่ปุ่น

ดาวน์โหลด บทความวิจัย

icon-pdf