วิเคราะห์การออกแบบฉากเทียบเคียงประวัติศาสตร์เหตุการณ์การชุมนุมในกรณีศึกษา เรื่อง Youth of may (오월의 청춘)

นางสาวเพชรรัตน์ สมานรักษ์

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์เรื่อง วิเคราะห์การออกแบบฉากเทียบเคียงประวัติศาสตร์เหตุการณ์การชุมนุมในกรณีศึกษาเรื่อง Youth of may (오월의 청춘) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงเหตุการณ์ทางการเมืองในสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ช่วงปี ค.ศ.1980 ที่มีการชุมนุมทางการเมืองครั้งใหญ่ในเมืองกวางจู และเปรียบเทียบสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงกับภาพเหตุการณ์ในละคร โดยมีวิธีการศึกษาโดยการรวบรวมข้อมูลจากสื่อต่างๆนำมาเทียบเคียงกับฉากเหตุการณ์ทางการเมืองในละครและนำมาวิเคราะห์เรียบเรียง

ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงเหตุการณ์การชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ปี ค.ศ.1980 ได้เกิดการรวมตัวกันของกลุ่มนักศึกษาในเมืองกวางจู โดยตัวละครอีซูรยอนซึ่งเป็นแกนนำนักศึกษาในการชุมนุมซึ่งการรวมตัวนี้ได้สร้างความไม่พอใจต่อฝ่ายรัฐบาลทหารที่มองว่าเป็นการต่อต้านความสงบจึงได้ออกกฎอัยการศึกที่ริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยกลุ่มนักศึกษาต้องมีการวางแผนการชุมนุม การพิมพ์ใบปลิวและใบแถลงการณ์ต้องดำเนินไปอย่างลับๆ ชีวิตของนักศึกษาเต็มไปด้วยความหวาดระแวงต่อทหารที่จะทำการจับกุมนักศึกษาได้ทุกเวลา จากการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษา ได้มีประชาชนทั้งเด็กจนถึงผู้สูงอายุได้ออกมาเรียกร้องจนเกิดการรวมกลุ่มการชุมนุมขนาดใหญ่ ทำให้ฝ่ายรัฐบาลทหารทำการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมโดยการใช้ความรุนแรง โดยเป้าหมายของกลุ่มทหารที่ต้องการจับกุมคือกลุ่มนักศึกษาซึ่งเป็นแกนนำหลัก ทหารได้ใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มนักศึกษาจนบาดเจ็บสาหัส นักศึกษาบางส่วนถูกจับกุมและถูกทารุณบางส่วนเสียชีวิตจากการใช้ความรุนแรง

จุดจบของเหตุการณ์ทำให้ได้เกิดการสูญเสียครั้งใหญ่ เหตุการณ์การประท้วงที่เมืองกวางจูนั้นได้สร้างบาดแผลทั้งทางกายและทางจิตใจแก่ผู้ที่ได้ผ่านเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ได้รับการรักษา อีกทั้งยังมีการจัดตั้งอนุสรณ์และสุสาน 18 พฤษภาประชาธิปไตย (The May 18th National Cemetery) ที่เมืองกวางจู ที่เมืองกวางจู เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม เมื่อครบรอบวันที่ 18 พฤษภาคมจะมีพิธีการรำลึกต่อเหตุการณ์