ภาพแทนของความเป็นเพศในมังงะเรื่อง Run Away With Me, Girl

ชุติกาญจน์ โรจน์สุธีวัฒน์

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์ “ภาพแทนของความเป็นเพศในมังงะเรื่อง Run Away With Me, Girl” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบริบทกับความหลากหลายทางเพศ และศึกษาวิธีการสร้างภาพแทนที่ปรากฎในมังงะเรื่อง Run Away With Me, Girl โดยมีวิธีการศึกษาโดยใช้แนวคิดทางสังคมศาสตร์ ดังนี้ แนวคิดความเป็นเพศ และแนวคิดการสร้างภาพแทน มาประกอบการศึกษาและวิเคราะห์ โดยมีขอบเขตการศึกษาภายใต้เนื้อหามังงะเรื่อง Run Away With Me, Girl

ผลการศึกษาพบว่า จากวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ความเป็นเพศที่ปรากฎในมังงะเรื่อง Run Away With Me, Girl มีด้วยกันทั้งหมด 2 ลักษณะ คือ ความเพศในวัยเด็ก และความเป็นเพศในวัยผู้ใหญ่ ความเป็นเพศที่ถูกนำเสนอออกมามีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัยตามบทบาทหน้าที่ ความไม่เท่าเทียม และความสัมพันธ์เชิงอำนาจในช่วงเวลานั้น ๆ ทำให้ว่าความเป็นเพศและการแสดงออกถึงความเป็นเพศมีพลวัติหรือมีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัย ความเป็นเพศในวัยเด็กมี 3 ลักษณะ คือ เพศหญิงวัยเด็ก เพศที่สามวัยเด็ก และเพศชายวัยเด็ก ที่มีบทบาทหน้าที่ที่คล้ายกันแต่ตัวละครเพศที่สามวัยเด็กกลับถูกนำเสนอด้วยปัญหาที่แตกต่างออกไป คือ การแสดงออกถึงความเป็นเพศที่แท้จริงของตัวเอง ซึ่งต่างกับเพศชายและเพศหญิงวัยเด็กที่เน้นนำเสนอเรื่องปัญหาครอบครัวและปัญหาการกลั่นแกล้งในโรงเรียน

ความเป็นเพศในวัยผู้ใหญ่ทั้งสามลักษณะ คือ เพศหญิงวัยผู้ใหญ่ เพศที่สามวัยผู้ใหญ่ และเพศชายวัยผู้ใหญ่ มีการนำเสนอความเป็นเพศและปัญหาที่หลากหลายมากกว่าวัยเด็ก โดยภาพแทนความเป็นเพศหญิงวัยผู้ใหญ่มีการนำเสนอลักษณะที่เป็นขั้วตรงข้ามกัน คือ เพศสมัยเก่าและเพศหญิงสมัยใหม่ และมีการแบ่งเพศหญิงสมัยใหม่ออกเป็นเพศหญิงสมัยใหม่ที่ดีและเพศหญิงสมัยใหม่ที่ไม่ดี

ผลการศึกษาพบว่า จากวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 วิธีการสร้างภาพแทนที่ปรากฎในมังงะเรื่อง Run Away With Me, Girl มีด้วยกันทั้งหมด 2 ลักษณะ คือ วิธีการสร้างภาพแทนความรักเพศเดียวกัน และวิธีการสร้างภาพแทนรักต่างเพศ โดยสร้างให้รักต่างเพศเป็นรักที่มีความรุนแรงในครอบครัว และรักต่างเพศเป็นรักที่ไม่จริงใจ และมีการใช้อัตลักษณ์ขั้วตรงข้ามเป็นรักเพศเดียวกัน และให้ค่ากับความรักเพศเดียวกันมากกว่า และมีวิธีการสร้างรักเพศเดียวกันในการสร้างในลักษณะเดียว คือ การสร้างภาพแทนความรักของเพศเดียวกันในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ขึ้นมา และให้ค่ากับความรักเพศเดียวกันในวัยผู้ใหญ่มากกว่า กล่าวคือ วิธีการสร้างภาพแทนมีการนำเสนอทั้งรักเพศเดียวกันและรักต่างเพศ แต่มีการให้ค่ากับรักเพศเดียวกันมากกว่า โดยสร้างให้ความรักของเพศเดียวกันมีภาพลักษณ์ที่ดีกว่ารักต่างเพศ ในวิธีการสร้างภาพแทนนรักต่างเพศจะมีทั้งความรุนแรงและความไม่จริงใจ ซึ่งจะตรงข้ามกับรักเพศเดียวกัน ในขณะเดียวกัน วิธีการสร้างภาพแทนรักต่างเพศเป็นสร้างขั้วตรงข้ามระหว่างวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ ซึ่งจะเห็นว่าในท้ายที่สุดตัวละครก็เลือกความรักของเพศเดียวกัน จะเห็นได้ว่าวิธีการสร้างภาพแทนของมังงะมีการให้ค่ากับรักเพศเดียวกันมากกว่า โดยแม้ว่าในตอนแรกตัวละครหลักจะเลือกรักต่างเพศ แต่ในท้ายที่สุดก็กลับมาเลือกเพศเดียวกัน