จุดยืนของอาเซียนที่มีต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนในทิเบต: ข้อถกเถียงว่าด้วยเรื่องคุณค่าแบบตะวันตกกับคุณค่าแบบตะวันออก

โดย นางสาวพัณณิภา สุนทรศิริบุญญา

บทคัดย่อ

งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาข้อถกเถียงเรื่องสิทธิมนุษยชนระหว่างสิทธิมนุษยชนแบบตะวันตกกับสิทธิมนุษยชนคุณค่าแบบตะวันออก 2. ศึกษาประวัติศาสตร์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในทิเบต 3. ศึกษาในเชิงเปรียบเทียบของข้ออ้างของจีนในการจัดการปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศและมุมมองของประเทศในอาเซียนที่มีต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนของจีนในทิเบต โดยผู้วิจัยได้นำเอาข้อถกเถียงทางทฤษฎีว่าด้วยเรื่องคุณค่าแบบตะวันตก (Western Values)และคุณค่าแบบตะวันออก (Eastern Values) มาใช้เป็นกรอบในการศึกษางานวิจัย การศึกษาครั้งนี้จะให้ความสำคัญกับจุดยืนของอาเซียนที่มีต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลจีนที่มีต่อทิเบต ในช่วงระหว่างปีค.ศ. 1959-2008

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันเราจะเห็นว่าชาติมหาอำนาจได้เข้าไปอ้างหลักการสากล โดยเฉพาะประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนในการเข้าไปแทรกแซงรัฐอื่น อย่างเช่นกรณีทิเบต แต่ขณะเดียวกันจะเห็นว่าอาเซียนก็ไม่ได้เข้าไปแทรกแซงรัฐอื่น เนื่องจากชาติสมาชิกยึดหลักการที่จะไม่เข้าไปแทรกแซง ดังนั้นจึงได้ข้อสรุปว่า ถึงแม้อาเซียนจะมีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่ชาติสมาชิกก็ยึดหลักการวิถีของอาเซียน คือการไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐอื่น ซึ่งได้สอดคล้องกับหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 5ประการของจีน จากการที่จีนและอาเซียนมีความเห็นที่สอดคล้องกัน จึงกลายเป็นข้อดีในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างจีนและอาเซียน

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf