องค์ประกอบศิลป์ในศิลปะเชิงสังวาส : กรณีศึกษาภาพพิมพ์แกะไม้สมัยเอโดะกับสมัยเมจิ

โดย นางสาวณัชชา เลิศจรรยากุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของภาพพิมพ์แกะไม้ชุงกะ ศึกษาองค์ประกอบศิลป์ในภาพพิมพ์แกะไม้ชุงกะ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างภาพพิมพ์แกะไม้ชุงกะสมัยเอโดะกับสมัยเมจิ โดยศึกษาด้วยการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทั้งภาษาไทย, ภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นในเรื่องประวัติความเป็นมาของภาพชุงกะและประวัติรวมทั้งผลงานของศิลปินต่างๆ เลือกชุดภาพชุงกะของสำนักศิลปินอุตะกะวะในสมัยเอโดะและสมัยเมจิเพื่อมาวิเคราะห์ในด้านองค์ประกอบศิลป์แล้วนำมาเปรียบเทียบกับภาพ ชุงกะของศิลปินอื่นๆร่วมสมัยเพื่อหาความแตกต่างและวิวัฒนาการของภาพพิมพ์แกะไม้ชุงกะ

ผลจากการศึกษาพบว่าเปรียบเทียบขององค์ประกอบศิลป์ในภาพพิมพ์แกะไม้ชุงกะระหว่างสมัยเอโดะกับสมัยเมจิ คือ สมัยเอโดะ ระยะแรก มีการใช้สีสันที่ฉูดฉาด มักใช้แม่สีคู่ตัด อย่าง         สีฟ้าและสีแดง     ส่วนในระยะหลังจนถึงในสมัยเมจิได้เกิดการใช้เฉดสีใหม่ๆ เช่น สีม่วง สีชมพู     สีน้ำตาล เป็นต้น การจัดองค์ประกอบภาพทั้งสองสมัย จัดจุดเด่นของภาพมีขนาดใหญ่ และปานกลางมักจะจัดอยู่กึ่งกลางของภาพ เป็นภาพแนวนอน  ส่วนใหญ่เป็นท่าทางของการมีเพศสัมพันธ์ชายหญิง มีสัดส่วนที่มีความสมจริงแต่ในสมัยเอโดะบริเวณอวัยวะเพศจะมีขนาดใหญ่เกินจริงมากกว่าสมัยเมจิ ภาพบุคคลที่ปรากฎ ในสมัยเอโด  จะเป็นภาพร่วมรักระหว่างชายหญิง, ภาพการร่วมรักแบบกลุ่ม, ผู้ร้าย-หญิงสาว หรือพวกอมนุษย์ ส่วนในสมัยเมจิภาพบุคคลที่ปรากฎยังคงคล้ายกับสมัยเอโดะ แต่มีการปรากฎภาพร่วมรักของคนในอาชีพต่างๆด้วย เช่น นางพยาบาลกับทหาร และยังการเปลือยกายในการร่วมรักของภาพบุคคล ซึ่งไม่พบในสมัยเอโดะ ลักษณะการแต่งกาย    ในสมัยเอโดะเป็นเสื้อผ้าดังเดิมของญี่ปุ่นของลวดลายบนเสื้อผ้าของผู้หญิงมักจะใช้เส้นโค้งในการสร้างลวดลาย ส่วนลวดลายบนเสื้อผ้าของผู้ชายนั้นส่วนใหญ่ใช้เส้นตรง ส่วนในสมัยเมจิปรากฎเสื้อผ้าแบบตะวันตก เช่น ชุดว่ายน้ำ, เครื่องแบบทหาร, ชุดนางพยาบาล, หมวก เป็นต้น ฉากที่ปรากฎส่วนใหญ่เป็นฉากห้องนอน, ริมระเบียง, ชานเรือน ,สถานที่โล่งแจ้งตามธรรมชาติ เช่น เนินเขา หรือทะเล เป็นต้น ตัวอักษรรอบๆจุดสนใจในภาพในสมัยเอโดะจะมีจำนวนมากกว่าในสมัยเมจิ

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf