ประติมากรรมรูป 8 อสูร ที่วัดโคฟุคุจิ

โดย นางสาวเบญจวรรณ วงค์ทิพย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งมีจุดมุ่งหมายคือเพื่อศึกษาแนวความคิดประติมานวิทยาและลักษณะประติมากรรมของรูปแปดเทพอสูร (八部衆/ Hachi Bushū) ณ วัดโคฟุคุจิ  โดยอาศัยข้อมูลจาก บทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง 8 อสูรและเว็บไซต์ของวัดโคฟุคุจิ  ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะของรูปประติมากรรมทั้งแปดรูป เห็นได้ว่าช่างผู้สร้างประติมากรรมได้รับอิทธิพลมาจากตำนานหรือเรื่องเล่าของประติมากรรมแต่ละรูปเพื่อให้ดูเหมือนจริงและใกล้เคียงกับตำนานมากที่สุด  นอกจากเรื่องเล่าแล้วผู้สร้างยังได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบจีนสมัยราชวงศ์ถัง ทั้งกรรมวิธีในการสร้างด้วยวิธีลงรักแห้งและลักษณะของรูปประติมากรรมส่วนใหญ่จะสวมชุดเกราะแบบทหารจีนสมัยราชวงศ์ถัง         อีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมให้ของการสร้างประติมากรรมสวมชุดเกราะแบบทหารก็คือ แนวคิดเหล่าธรรมบาล ของพุทธศาสนาที่เชื่อว่าเป็นเทพพิทักษ์พระพุทธเจ้า    ประติมากรรมรูปเทพอสูรที่มีลักษณะแตกต่างไปจากประติมารูปอื่นๆอาจเนื่องมาจากตำนานของเทพอสูรมาจากศาสนาต่างๆของประเทศอินเดียทำให้รูปร่างลักษณะการแต่งกายของประติมากรรมรูปอสูรมีลักษณะคล้ายกับศิลปะแบบอินเดียมากว่าศิลปะแบบจีน จากการศึกษาลักษณะของรูปประติมากรรมแปดเทพอสูร ทำให้ทราบถึงศิลปะของญี่ปุ่นในสมัยนาระที่รับเอาศิลปะแบบจีนเข้ามาประยุกต์ใช้ในการสร้างผลงานทางศิลปะ   รวมไปถึงพุทธศาสนาที่เข้ามีบทบาทในวัฒนธรรมญี่ปุ่นในสมัยนาระในด้านต่างๆรวมไปถึงด้านศิลปะอีกด้วย

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf