พฤติกรรมการอ่านของนักศึกษา หลักสูตรเอเชียศึกษา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ชั้นปีที่ 1 – 4

โดย นางสาวมณีทิพย์ ชวิตรานุรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอ่าน สาเหตุการอ่านสารสนเทศ ปัญหาการอ่านสารสนเทศ และเปรียบเทียบสาเหตุการอ่านสารสนเทศ ปัญหาการอ่านสารสนเทศของนักศึกษา หลักสูตรเอเชียศึกษา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษา หลักสูตรเอเชียศึกษา ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเกาหลี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้รวม 60 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวแปรโดยใช้ ANOVA

ผลวิจัยพบว่า

  1. พฤติกรรมการอ่านของนักศึกษาฯ มีลักษณะดังนี้
    1. สถานที่อ่าน : นักศึกษาฯ นิยมอ่านที่หอพักมากที่สุด รองลงมา คือ บ้าน และรองลงมาอีก คือ ร้านกาแฟ
    2. ช่วงเวลาในการอ่าน : นักศึกษาฯ นิยมอ่านช่วงก่อนนอนมากที่สุด รองลงมา คือ ทุกเวลาที่ว่าง รองลงมาอีก คือ ช่วงเช้าและช่วงเย็น
    3. ระยะเวลาในการอ่านเฉลี่ยต่อวัน : นักศึกษาฯ นิยมอ่านเฉลี่ย 1 ชั่วโมงต่อวันมากที่สุด รองลงมา คือ 2 ชั่วโมงต่อวัน และรองลงมาอีก คือ มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน
    4. ลำดับความนิยมในการเลือกอ่านวัสดุตีพิมพ์ : นักศึกษาฯ นิยมอ่านนวนิยาย / เรื่องสั้นเป็นอันดับที่ 1 การ์ตูน เป็นอันดับที่ 2 หนังสือสารคดี / หนังสือทั่วไป เป็นอันดับที่ 3 ตาราเรียน เป็นอันดับที่ 4 วารสาร / นิตยสาร เป็นอันดับที่ 5 และหนังสือพิมพ์ เป็นอันดับที่ 6
    5. ลำดับความนิยมในการเลือกใช้วัสดุไม่ตีพิมพ์ : นักศึกษาฯ นิยมใช้ เทปบันทึกภาพ เป็นอันดับที่ 1 เทปบันทึกเสียง เป็นอันดับที่ 2 และสไลด์ เป็นอันดับที่ 3
    6. ลำดับความนิยมในการใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ : นักศึกษาฯ นิยมใช้อินเทอร์เน็ต เป็นอันดับที่ 1 ซีดี / ดีวีดี เป็นอันดับที่ 2 และฐานข้อมูลอ้างอิง เป็นอันดับที่ 3
    7. สาขาวิชาสารสนเทศที่อ่าน : นักศึกษาฯ นิยมอ่านสาขาวิชาภาษา / วรรณกรรมมากที่สุด รองลงมา คือ สาขาวิชาศิลปะ / ศิลปะการแสดง / ดนตรี รองลงมาอีก คือ สาขาวิชาประวัติศาสตร์
  2. สาเหตุการอ่านสารสนเทศ นักศึกษาฯ โดยรวมมีสาเหตุการอ่านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามสาเหตุการอ่านต่างๆ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน โดยมีลักษณะเรียงตามลำดับ คือ เพื่อเตรียมตัวสอบ เพื่อความบันเทิง เพื่อทำรายงานหรือการบ้าน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ เพื่อให้ทันสถานการณ์โลก เพื่อเปลี่ยนทัศนคติ / มุมมอง และเพื่อความอยากรู้อยากเห็น
  3. ปัญหาการอ่านสารสนเทศของนักศึกษาฯ แบ่งออกเป็น 2 ปัญหา ดังนี้
    1. ปัญหาที่เกิดจากตัวนักศึกษา : นักศึกษาฯ โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับปาน กลาง เมื่อพิจารณาแต่ละปัญหาพบว่า ปัญหาในระดับปานกลางมีลักษณะตามลำดับ คือ ไม่ทราบว่าแหล่งข้อมูลอยู่ที่ใด มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศอย่างจากัด และไม่ทราบวิธีค้นแหล่งข้อมูล อีกทั้งพบปัญหาในระดับน้อย มีลักษณะตามลำดับ คือ มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างจากัด ไม่มีคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น และมีปัญหาด้านสุขภาพ
    2. ปัญหาที่เกิดจากตัวข้อมูล : นักศึกษาฯ โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามปัญหาต่างๆ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน โดยมีลักษณะเรียงตามลำดับ คือ มีข้อมูลแต่ไม่เป็นภาษาต่างประเทศ ค้นหาข้อมูลที่ต้องการไม่พบ มีแหล่งข้อมูลแต่ไม่ตรงกับความต้องการ ไม่มีแหล่งข้อมูลที่ให้คำตอบในเรื่องที่กำลังค้นหา ข้อมูลที่ได้ไม่ทันสมัย และแหล่งข้อมูลที่ต้องการอยู่ไกล ไม่สะดวกเข้าไปใช้
  4. เปรียบเทียบสาเหตุการอ่านสารสนเทศ ปัญหาการอ่านที่เกิดจากตัวนักศึกษา และปัญหาที่เกิดจากตัวข้อมูล
    1. เปรียบเทียบสาเหตุการอ่านสารสนเทศ จำแนกตามหลักสูตรที่กำลังศึกษาอยู่ : นักศึกษาฯ มีสาเหตุการอ่านสารสนเทศโดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 หรือไม่แตกต่างกัน
    2. เปรียบเทียบปัญหาการอ่านที่เกิดจากตัวนักศึกษา จำแนกตามหลักสูตรที่กำลังศึกษาอยู่ : นักศึกษาฯ มีปัญหาการอ่านที่เกิดจากตัวนักศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 หรือไม่แตกต่างกัน หากพิจารณาปัญหาแต่ละข้อ พบว่า มีเพียงปัญหาไม่ทราบว่าข้อมูลมีอยู่ที่ใด มีความแตกต่างอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.05 4.3 เปรียบเทียบปัญหาการอ่านที่เกิดจากตัวข้อมูล จำแนกตามหลักสูตรที่กำลังศึกษาอยู่ : นักศึกษาฯ มีปัญหาการอ่านที่เกิดจากตัวข้อมูล โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 หรือไม่แตกต่างกัน

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf