การศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวเทศกาล ในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี

โดย นางสาวจุฬาลักษณ์ สุตพรม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาลที่สำคัญของประเทศเกาหลีใต้ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเทศกาลกับปัจจัยทางกายภาพ ปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรม และ 3) เพื่อสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวของเทศกาลตามรูปแบบของเส้นทางสายธรรมชาติ  เส้นทางสายวัฒนธรรม และเส้นทางสายเศรษฐกิจ ข้อมูลที่นำมาใช้เป็นข้อมูลจากหนังสือรวบรวมเทศกาลอันงดงามของเกาหลีใต้ของคิมยองอา และเว็บไซต์ขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลีในประเทศไทย รวมทั้งเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวที่เป็นต้นฉบับภาษาเกาหลี และภาษาอังกฤษ (Korea tourism organization : KTO) และหนังสืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาทำการวิเคราะห์แล้วนำเสนอในรูปแบบตาราง แผนที่ และภาพประกอบพร้อมคำอธิบาย

ผลการศึกษาและสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาลที่สำคัญของประเทศเกาหลีใต้พบว่าเทศกาลที่สำคัญและมีชื่อเสียงของแต่ละพื้นที่ทั่วเกาหลีใต้มีจำนวน 57 เทศกาล เป็นเทศกาลด้านกายภาพมีเทศกาลตกปลาเทราท์ เทศกาลจับปลาน้ำแข็งที่อินเจ เทศกาลจับปลาอึนออที่บงฮวาเป็นเทศกาลที่เกี่ยวกับทะเลสาบ เทศกาลพูซานชากัลป์ชิ เทศกาลชมวาฬที่อุลซาน และเทศกาลชินโดยองดึงน้ำทะเลแยกเป็นเทศกาลที่เกี่ยวกับทะเล เทศกาลหิมะแทแบคซาน และเทศกาลหิมะแดกวัลยงเป็นเทศกาลที่เกี่ยวกับหิมะและน้ำแข็ง เทศกาลหมักโคลนโพรยอง (โพเรียง) เป็นเทศกาลที่เกี่ยวกับโคลน เทศกาลชมดอกดาวกระจายสีชมพูที่คูรี เทศกาลชมทุ่งดอกเบญจมาศที่ซอซาน เทศกาลทุ่งดอกเรพซีด (หรือดอกคาโนล่า) เทศกาลชมดอกซากุระที่ยออีโด เทศกาลสวนดอกกุหลาบพันปี (ดอกอาซาเลีย) เป็นเทศกาลที่เกี่ยวกับสวนดอกไม้ เทศกาลที่เกี่ยวกับต้นไผ่ ได้แก่ เทศกาลไม้ไผ่ที่ดัมยาง เทศกาลที่เกี่ยวกับพืชไร่ ได้แก่ เทศกาลชาน้ำค้างแห่งขุนเขาฮาดง เทศกาลที่เกี่ยวกับสวนผลไม้ ได้แก่ เทศกาลรุมสกำมะเขือเทศที่ฮวาชอน เทศกาลพริกที่คเวซาน เทศกาลโสมคึมซาน เทศกาล

แอปเปิ้ลที่ชุงจู เทศกาลลูกพีชที่โจชี่วอน เทศกาลที่เกี่ยวกับสมุนไพร ได้แก่ เทศกาลยาและสมุนไพรที่ซานช่อง เทศกาลที่เกี่ยวกับอาณาจักรเห็ดรา ได้แก่ เทศกาลเห็ดป่าสนยางยาง เทศกาลที่เกี่ยวกับสัตว์สวยงาม ได้แก่ เทศกาลชมหิ่งห้อยมูจู เทศกาลชมนกอพยพนานาชาติที่กุนซาน เทศกาลผีเสื้อและแมลงฮัมพยอง (ฮัมเปียง)

นอกจากนี้ เป็นเทศกาลด้านสังคมและวัฒนธรรมมีเทศกาลที่เกี่ยวกับด้านอาหาร ได้แก่ เทศกาลอาหารทะเลหมักดองคังคยอง (คังเคียง) เทศกาลเครื่องดื่มและขนมพื้นเมือง เทศกาลกิมจิที่กวางจู เทศกาลที่เกี่ยวกับด้านความเป็นอยู่ ได้แก่ เทศกาลเซรามิกอีชอน เทศกาลวัฒนธรรมข้าวใหม่ที่อีชอน เทศกาลวัฒนธรรมผ้าป่าน ฮานซานรามี เทศกาลขอบฟ้าคิมเจ (กิมเจ) เทศกาลชุนฮยัง (ชุนยาง) เทศกาลวัฒนธรรมศิลาดลที่คังจิน เทศกาลไฟเมืองเชจู เทศกาลซอควีโพ ชิลชิมนี (ซกวิโพ ชิลชิมนี) เทศกาลโคมไฟดอกบัว เทศกาลวิทยาศาสตร์แดจอน (แทจอน) เทศกาลสมุนไพรรักษาโรคแดกู ยังเนียงซี (แทกู ยังเนียงซี) และเทศกาลที่เกี่ยวกับด้านความบันเทิง ประเภทดนตรี ได้แก่ เทศกาลดนตรีแจ๊สนานาชาติที่จาราซอม เทศกาลดนตรีพื้นบ้านที่บูพยอง ประเภทการแสดง ได้แก่ เทศกาลนัมซาดัง บาอูด๊อกกี เทศกาลละครใบ้นานาชาติชุนชอน เทศกาลดอกไม้ไฟนานาชาติที่โพฮัง เทศกาลระบำหน้ากากนานาชาติอันดง เทศกาลละครเวทีนานาชาติที่คอชัง เทศกาลจำลองการรบของฮันซาน (ฮานซาน) เทศกาลกลองกรุงโซล เทศกาลทะเลพูซาน เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติพูซาน ประเภทศิลปะ ได้แก่ เทศกาลศิลปะป้องกันตัวของโลกที่ชุงจู เทศกาลไฮโซล เทศกาลรำลึกความทรงจำชุงจัง 7080 เทศกาลชมพระอาทิตย์ขึ้นวันปีใหม่ที่พูซาน เทศกาลชมพระอาทิตย์ขึ้นที่กันจอลกด

จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเทศกาลกับปัจจัยทางกายภาพ ปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรม เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของปัจจัยกับการก่อเกิดเทศกาลพบว่าสามารถแบ่งกลุ่มเทศกาลกับความสัมพันธ์ปัจจัยทางกายภาพออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) อุทกภาค ประกอบไปด้วยแหล่งน้ำบนผิวดิน ประเภททะเลสาบ ทะเล (น้ำเค็ม) หิมะและน้ำแข็ง พบในบริเวณทางตอนเหนือที่จังหวัดคังวอน และจังหวัดคยองซังเหนือ (2) ธรณีภาค ประกอบไปด้วย โคลน พบในบริเวณทางตอนกลางที่เมืองโพรยอง (3) ชีวภาค ประกอบไปด้วยสวนดอกไม้ ต้นไผ่ พืชไร่ สวนผลไม้ สมุนไพร อาณาจักรเห็ดรา และสัตว์สวยงาม และสามารถแบ่งกลุ่มเทศกาลกับความสัมพันธ์ปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรมออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ด้านอาหาร

ด้านความเป็นอยู่ ด้านความบันเทิงประกอบไปด้วยดนตรี การแสดง และศิลปะ พบว่ากระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ในเกาหลีใต้

จากการสร้างภาพเส้นทางการท่องเที่ยวของเทศกาลตามรูปแบบของเส้นทางสายธรรมชาติ  เส้นทางสายวัฒนธรรม และเส้นทางสายเศรษฐกิจ สามารถแบ่งรูปแบบของแต่ละเส้นทางตามฤดูกาลต่างๆ ได้ดังนี้ เทศกาลในช่วงฤดูหนาว เทศกาลในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เทศกาลในช่วงฤดูร้อน เทศกาลในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ทำให้เห็นภาพเส้นทางการท่องเที่ยวแต่ละประเภทในแต่ละฤดูกาลได้ง่ายขึ้น

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf