ความกตัญญูในฐานะจริยศาสตร์ต่างตอบแทนในปรัชญาขงจื่อ

โดย นางสาวนฤภร โรจน์เด่นดวง

บทคัดย่อ

บทความวิจัย “ความกตัญญูในฐานะจริยศาสตร์ต่างตอบแทนในปรัชญาขงจื่อ” มีวัตถุประสงศ์เพื่อ (1)ศึกษาแนวคิดเรื่อง การต่างตอบแทน 4 แบบในจริยศาสตร์ขงจื่อ (2)ศึกษาคุณธรรม “ความกตัญญู” ในจริยศาสตร์ของขงจื่อ (3)ศึกษาความเป็นธรรมที่ปรากฏในคำสอนเรื่อง “ความกตัญญู” ของขงจื่อ

ผลการศึกษาพบว่า การต่างตอบแทนในจริยศาสตร์ขงจื่อมี 4 ความสัมพันธ์ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างบิดา-มารดา-บุตร  ความสัมพันธ์ระหว่างมิตรสหาย ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าผู้ปกครอง-ขุนนาง-ประชาชน และความสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า/คนต่างวัฒนธรรม ในการวิจัยนี้เราให้ความสนใจในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบิดา-มารดา-บุตร ซึ่งเกี่ยวข้องกับความกตัญญูเป็นหลัก และทำให้ทราบว่า “ความกตัญญู” ตามคำสอนของขงจื่อเป็นการต่างตอบแทน ถือเป็นคุณธรรมที่สอดคล้องในคุณธรรมเรื่อง “ความตรง” (จื่อ) กล่าวคือ “ความกตัญญู” เป็นคุณธรรมที่บุตรควรพึงมีต่อบิดามารดา โดยการให้ความเคารพและให้ความสำคัญ อีกทั้งยังให้แนวคิดในเรื่องที่บิดามารดาได้ล่วงละเมิดความถูกต้องแล้วนั้น บุตรมีหน้าที่อย่างไรต่อบิดามารดา บุตรก็ยังคงแสดงความกตัญญูต่อบิดามารดาโดยใช้คุณธรรม “ความตรง” (จื่อ) ที่ขงจื่อได้กล่าวไว้ บุตรควรตอบแทนโดยการซ่อนความผิดของบิดามารดา “ความตรง” (จื่อ) เป็นวิธีแก้ไขที่เหมาะสมในแนวคิดเรื่อง “ความตรง”(จื่อ) ที่ขงจื่อได้กล่าวไว้ และเป็นวิธีที่เหมาะสมมากกว่าการที่บุตรเห็นบิดามารดาตนล่วงละเมิดความผิดแล้วนำความผิดของบิดามารดาตนไปบอกแก่รัฐให้ลงโทษ ความตรงในฐานะส่วนหนึ่งของความเป็นธรรมต้องพิจารณารวมถึงวิธีที่ถูกต้องเหมาะสมที่จะ “ตอบแทน” การล่วงละเมิดคนอื่นด้วย

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf