ความแตกต่างระหว่างเพลงเกี่ยวข้าวเกาหลีและเพลงเกี่ยวข้าวไทย

โดย นางสาวไปรยา ลิมปนนาคทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องความแตกต่างระหว่างเพลงเกี่ยวข้าวเกาหลีและเพลงเกี่ยวข้าวไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของเพลงเกี่ยวข้าวของเกาหลีและเพลงเกี่ยวข้าวของไทยและศึกษาประเพณีวัฒนธรรมผ่านบทเพลงเกี่ยวข้าว โดยมีวิธีการศึกษาจากหนังสือ เอกสารสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รวมถึงคลิปรายการโทรทัศน์

ผลการศึกษาพบว่า เพลงเกี่ยวข้าวเกาหลีหรือนงอัก (농악) และเพลงเกี่ยวข้าวไทยมีความเหมือนกันในด้านจุดประสงค์ คือ เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย ความสนุกสนานและความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน ส่วนความแตกต่าง คือ นอกจากเพลงเกี่ยวข้าวเกาหลีมีวัตถุประสงค์เพื่อความสนุกสนานแล้วยังทำการแสดงเพื่อขอพรเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูใบไม้ผลิอีกด้วย รวมถึงใช้คนแสดงจำนวนมาก ใช้เครื่องดนตรีประกอบจังหวะและเครื่องดนตรีประกอบทำนอง การแต่งกายแตกต่างกันตามพื้นที่ ในขณะที่เพลงเกี่ยวข้าวไทยไม่จำเป็นต้องใช้คนจำนวนมาก ไม่มีดนตรีประกอบ ใช้มือปรบเป็นจังหวะแทน หรือหากจะใช้เครื่องดนตรีก็มักเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะและแต่งกายด้วยชุดในการทำนาของชาวบ้าน เพลงเกี่ยวข้าวเกาหลีแสดงออกถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ความเชื่อ การเล่นดนตรี เต้นรำ และการแสดงละคร พัฒนาสู่การเป็นศิลปะการแสดง ถูกลงทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมโลกโดยองค์กรยูเนสโก (UNESCO) ในปี 2557 ส่วนเพลงเกี่ยวข้าวไทยสะท้อนถึงวิถีการดำรงชีวิต การร้องเล่น การเต้นรำ การเกี้ยวพาราสีเพื่อให้เกิดความสนุกสนานและผ่อนคลายจากการทำงาน

ดาวน์โหลด บทความวิจัย

icon-pdf