พัฒนาการของกระแส K-WAVE : กรณีศึกษาละครชุดเกาหลีในไทย (ค.ศ.2000 – ปัจจุบัน)

โดย นางสาวอาโป เอกอนันต์กูล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “พัฒนาการของกระแส K-WAVE : กรณีศึกษาละครชุดเกาหลีในไทย (ค.ศ.2000 – ปัจจุบัน)” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเติบโตของอุตสาหกรรมละครเกาหลีและนโยบายของรัฐบาลที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมบันเทิง อีกทั้งปัจจัยที่ทำให้ละครชุดเกาหลีเป็นที่นิยมในประเทศไทยจนเกิดเป็นกระแสเกาหลี โดยมีวิธีการศึกษาจากหลักฐานเอกสารประกอบด้วยเอกสารภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ทั้งรูปแบบงานวิจัย บทความและการรวบรวมข้อมูลทางสื่อออนไลน์

ผลการศึกษาพบว่ากระแสเกาหลีมีจุดเริ่มต้นมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่เล็งเห็นถึงปัญหาการนำเข้าสินค้าต่างชาติจนทำให้ผู้ประกอบการในประเทศมีรายได้น้อยนอกจากนี้ยังมีปัญหาวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามามีอิทธิพลในเกาหลีมากเกินไปจนเกาหลีละเลยวัฒนธรรมของตัวเอง เพื่อเป็นการรักษาวัฒนธรรมของเกาหลีไว้และแก้ปัญหาการนำเข้าสินค้าจากต่างชาติรัฐบาลจึงมีนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมบันเทิงในประเทศให้มีคุณภาพ จนเป็นที่นิยมและส่งออกนอกประเทศได้ในที่สุด วัฒนธรรมที่ส่งผ่านละครชุดสามารถเข้าถึงผู้คนได้ง่ายทำให้อุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีเติบโตอย่างก้าวกระโดด รัฐบาลจัดตั้งองค์กรสนับสนุนวัฒนธรรมโดยเฉพาะ สถานที่ถ่ายทำละครกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดต่างชาติเข้ามาในเกาหลี การดูละครทำให้เกิดการเลียนแบบวัฒนธรรมเกาหลีขึ้นเรียกว่า กระแส K-WAVE หรือ กระแสเกาหลี หลังจากที่ละครเกาหลีได้เข้ามาออกอากาศในไทยคนไทยก็นิยมไปเที่ยวที่เกาหลีมากขึ้น อาหาร แฟชั่น เครื่องสำอาง ล้วนได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมเกาหลี การที่กระแสเกาหลีเข้ามามีบทบาทในไทยตอกย้ำถึงความสำเร็จของรัฐบาลเกาหลีที่พยายามผลักดันและแก้ไข้ปัญหาเศรษฐกิจ อีกทั้งยังสามารถรักษาวัฒนธรรมที่เป็นสิ่งสำคัญของเกาหลีได้อีกด้วย

ดาวน์โหลด บทความวิจัย

icon-pdf