การเปรียบเทียบความคิด ความเชื่อเกี่ยวกับทวารบาลของจีนและของจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย

โดย นางสาววาสนา คงอิ่ม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “การเปรียบเทียบความคิดความเชื่อเกี่ยวกับทวารบาลของจีนและของจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพีธีกรรม ธรรมเนียม ประเพณี ที่เกี่ยวข้องกับทวารบาลของจีน วิเคราะห์ความคิด ความเชื่อเบื้องหลังพิธีกรรม ธรรมเนียม ประเพณีที่สะท้อนผ่านทวารบาลของจีน และเพื่อเปรียบเทียบความคิด ความเชื่อ เกี่ยวกับทวารบาลของจีนและของจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับทวารบาลของจีนและของจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย และเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามด้วยการสำรวจ สัมภาษณ์ และสังเกตกิจกรรมของชาวจีนที่สะท้อนถึงความเชื่อเกี่ยวกับทวารบาลทั้งตามบ้านเรือนและในศาลเจ้าจีน

ผลจากการศึกษาพบว่าธรรมเนียมและรูปแบบของทวารบาลจีนของจีนและของจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยมีรูปแบบที่ต่างกันตามความนิยมและความเชื่อของแต่ละท้อง มีธรรมเนียมการปิดภาพเทพเจ้าที่หน้าประตูทุกปีในช่วงเทศกาลตรุษจีน มีพิธีกรรมการไหว้เทพทวารบาลที่หน้าประตูบ้านและศาลเจ้าข้างละ 1 ดอก ศาลเจ้าบางแห่งที่มีประติมากรรมเทพหรือขุนนางทวารบาลจะใช้ธูป 3 ดอก บางแห่งก็จะมีของไหว้ด้วย นอกจากนี้ก็ยังมีการไหว้ทวารบาลที่ฮวงซุ้ยในวันเชงเม้งด้วย ความเชื่อเรื่องทวารบาลมาจากความเชื่อพื้นฐานของจีน คือความเชื่อเรื่องการนับถือธรรมชาติและภูตผี ลัทธิขงจื้อ และลัทธิเต๋า ความเกรงกลัวในอำนาจเหนือธรรมชาติของผีทำให้ต้องหาเครื่องป้องกันซึ่งได้แก่เทพเจ้าที่มีอำนาจในการปราบภูติผี และขุนนางที่ทำความดีจนได้รับความชื่นชมและได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าซึ่งสอดคล้องกับลัทธิเต๋าที่พูดถึงเรื่องเซียน เทพเจ้าและเวทมนตร์ต่าง ๆ และลัทธิขงจื้อเรื่องการนับถือคนดี มีความรู้ มีความกตัญํูและการประกอบพิธีกรรม ส่วนความคิด ความเชื่อ เกี่ยวกับทวารบาลของจีนและของจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยก็มีความคล้ายกันคือมีคติความเชื่อเดิมเรื่องการป้องกันภัยและเรื่องความเป็นสิริมงคลซึ่งเป็นรูปแบบที่มีการพัฒนามาจากแบบแรก

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf