บทบาทของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในเศรษฐกิจประเทศเวียดนาม

อารียา ช่วยชัย บทคัดย่อ สารนิพนธ์เรื่อง “บทบาทของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในเศรษฐกิจประเทศเวียดนาม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษานโยบายและมาตการการส่งเสริมการลงทุนของชาวเวียดนามโพ้นทะเลในประเทศเวียดนาม และบทบาทของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามต่อเศรษฐกิจประเทศเวียดนาม โดยมีวิธีการศึกษาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ทั้งในรูปแบบงานวิจัย บทความ และการรวบรวมข้อมูลทางสื่อออนไลน์ จากการศึกษาพบว่า รัฐบาลเวียดนามเห็นถึงศักยภาพของชาวเวียดนามโพ้นทะเล เพราะชาวเวียดนามโพ้นทะเลมีการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น มีเครือข่ายที่แข็งแกร่ง และมูลค่าโดยรวมของเงินที่ถูกส่งกลับสู่ประเทศเวียดนาม (remittance) โดยชาวเวียดนามโพ้นทะเลในต่างแดนค่อนข้างสูง รัฐบาลเวียดนามจึงจัดตั้งคณะกรรมการรัฐดูแลเกี่ยวกับชาวเวียดนามโพ้นทะเลภายใต้กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนกนโยบายเพื่อดึงดูดชาวเวียดนามโพ้นทะเลเข้ามาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ทำให้นักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายเวียดนามที่มีมีเชื้อสายเวียดนามและความสามารถในภาษาเวียดนาม มีข้อได้เปรียบในการลงทุนในประเทศเวียดนามมากกว่านักธุรกิจไทยกลุ่มอื่น ๆ เห็นได้จากกิจการของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามที่ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ บทบาทของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในเศรษฐกิจประเทศเวียดนามอาจจะยังไม่มีบทบาทมากนัก เพราะจำนวนของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามยังถือว่าน้อยกว่าชาวเวียดนามโพ้นทะเลในประเทศอื่น อีกทั้งธุรกิจของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามที่ลงทุนในประเทศเวียดนามยังคงเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หากเทียบกับกิจการของชาวเวียดนามโพ้นทะเลจากประเทศอื่น แต่ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามยังคงมีศักยภาพในการส่งเสริมการเชื่อมโยงธุรกิจในระดับท้องถิ่น

เส้นทางการก้าวขึ้นสู่บัลลังก์ของจักรพรรดิหย่งเจิ้ง

โดย นางสาวอัฐภิญญา ปัญญาวชิรญาณ บทคัดย่อ บทความเรื่องวิจัยเรื่อง”เส้นทางการก้าวสู่บังลังก์ของจักรพรรดิหย่งเจิ้ง”นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเหตุการณ์ทางการเมืองในปลายสมัยจักรพรรดิคังซีที่มีผลตอการขึ้นสู่บัลลังก์และเพื่อศึกษาเส้นทางการก้าวขึ้นสู่บัลลังก์ของจักรพรรดิหย่งเจิ้ง ผลการศึกษาพบว่าเส้นทางการก้าวขึ้นสู่บังลังก์ของจักรพรรดิหย่งเจิ้งมีความซับซ้อนและน่าค้นหาเป็นอย่างมาก ซึ่งมีหลักฐานข้อมูลเนี้อหาที่เกี่ยวกับการขึ้นครองราชย์ของพระองค์ 2 ประเด็นที่ว่าด้วยเรื่องจักรพรรดิหย่งเจิ้งนั้นได้ทำการปลอมแปลงพินัยกรรมราชโองการของจักรพรรดิคังซี โดยให้ขุนนางคนสนิทปลอมแปลงเนี้อหาบางส่วนของราชโองการ และอีกประเด็นหนึ่ง คือ จักรพรรดิคังซีทรงยินยอมยกราชสัมบัติให้แก่พระองค์  โดยจักรพรรดิหย่งเจิ้งได้ขึ้นครองราชย์อย่างชอบธรรมปราศจากการปลอมแปลงราชโองการใดๆทั้งสิ้น  จากการศึกษาค้นคว้าหลักฐานข้อมูลต่างๆ ผู้วิจัยเห็นว่าการขึ้นสู่บังลังก์ของจักรพรรดิหย่งเจิ้งนั้นคาดว่าพระองค์ขึ้นสู่บังลังก์โดยชอบธรรม ดาวน์โหลด บทความวิจัย

“ลำนำกระเทียม : การต่อสู้และการยอมจำนนของชนชั้นล่างในสมัยเติ้ง เสี่ยวผิง”

โดย นางสาวศุภานัน ลีอารีย์กุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาตัวละครผ่านวรรณกรรมเรื่องลำนำกระเทียม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างตัวละครและบทบาทตัวละครผ่านวรรณกรรมเรื่องลำนำกระเทียม

Read more

สี่ปีนรกในเขมร : ภาพสะท้อนวิถีชีวิตและทรรศนะของคนญี่ปุ่นในยุคเขมรแดง

โดย นายอดิศร เลิศฤทธิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหนังสือสารคดีเรื่อง สี่ปีนรกในเขมร เขียนโดย นาสึโกะ นะอิโตะ แปลโดย ผุสดี นาวาวิจิต ผู้ศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาหรือข้อเท็จจริงวิถีชีวิตของคนเขมรและคนญี่ปุ่น (ยาสึโกะ นะอิโตะ) ในช่วงการปกครองของเขมรแดง รวมทั้งศึกษาเนื้อหาด้านทรรศนะอีกด้วย

Read more

วรรณกรรมแปลเกาหลีเรื่อง จักรพรรดิที่โลกลืม

โดย นางสาวรัฐญา อาจิณาจารย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาวรรณกรรมแปลเกาหลีเรื่อง “จักรพรรดิที่โลกลืม” เขียนโดย ลีมูนยอล ที่ได้รับการแปลมาจากพงศาวดารโบราณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่อง “จักรพรรดิที่โลกลืม” ในด้านองค์ประกอบวรรณกรรมได้แก่ โครงเรื่อง แก่นเรื่อง ตัวละคร ฉาก แลกลวิธีการประพันธ์ และเพื่อศึกษาคุณค่าที่ได้รับจากวรรณกรรมเรื่อง “จักรพรรดิที่โลกลืม”

Read more

คดีฆ่าหั่นศพ สถานภาพและบทบาทของผู้หญิงญี่ปุ่น

โดย นางสาวณัฐวดี คุณชมภู

บทคัดย่อ

วรรณกรรมเป็นสิ่งสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ ตลอดจนเสนอให้เห็นการยึดถือคุณค่าต่างๆ ของคนในสังคมแต่ละยุคสมัยว่าสังคมมีอิทธิพลต่อวรรณกรรม โดยผู้แต่งนำมาสะท้อนปัญหาต่างๆ ในสังคมเพื่อให้ผู้อ่านได้รับรู้เรื่องราวทั้งหมด บทความนี้วิเคราะห์งานเขียนเรื่อง คดีฆ่าหั่นศพ ของนักเขียนสตรีชื่อ นัตสึโอะ คิริโนะ นวนิยายเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงปัญหาของสตรีญี่ปุ่นในสังคมระบบปิตาธิปไตยตามบทบาทและสถานภาพของสตรี

Read more

การศึกษาวรรณกรรมเยาวชนแปลเกาหลีเรื่อง หนูเก็บเงินได้ 10 ล้านวอนแล้ว

โดย นางสาวอารดา เทพณรงค์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวรรณกรรมเยาวชนแปลเกาหลีเรื่อง “หนูเก็บเงินได้ 10 ล้านวอนแล้ว” ตามหลักวิเคราะห์วรรณกรรม ด้านองค์ประกอบของวรรณกรรม และเพื่อศึกษาคุณค่าที่ปรากฏในวรรณกรรมเยาวชนแปลเกาหลีเรื่อง “หนูเก็บเงินได้ 10 ล้านวอนแล้ว” โดยข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ วรรณกรรมเยาวชนแปลเกาหลีเรื่อง “หนูเก็บเงินได้ 10 ล้านวอนแล้ว” ของ คิม ซอน ฮี ผู้แปลคือ Whanmeister ปีที่พิมพ์ 2550

Read more

การศึกษาวรรณกรรมเยาวชนแปลเกาหลี เรื่อง มามะ! ฉันจะช่วยเธอ

โดย นางสาวณัฐณิชา ศรีนุช

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาวรรณกรรมเยาวชนแปลเกาหลี เรื่อง มามะ! ฉันจะช่วยเธอ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วรรณกรรมเยาวชนเกาหลี เรื่อง มามะ! ฉันจะช่วยเธอ  ในด้านองค์ประกอบของวรรณกรรมได้แก่ โครงเรื่อง แนวความคิดสำคัญ ตัวละคร ฉาก มุมมองที่ใช้ในการเล่าเรื่อง บทสนทนและกลวิธีการเล่าเรื่อง และเพื่อศึกษาคุณค่าที่ได้รับจากวรรณกรรมเยาวนชนเกาหลี เรื่อง มามะ! ฉันจะช่วยเธอ

Read more

การศึกษาตัวละครในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “มินจายอง ราชินีบัลลังก์เลือด”

โดย นางสาวธรรมรัตน์ สุนทรโชติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเล่มนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์นวนิยายแปลจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง “มินจายอง ราชินีบัลลังก์เลือด” มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์นวนิยายแปลจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง “มินจายอง ราชินีบัลลังก์เลือด” ตามหลักการวิเคราะห์นวนิยาย ด้านองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ โครงเรื่อง วิธีการสร้างตัวละคร แก่นเรื่อง กลวิธีการแต่ง และคุณค่าของนวนิยายแปลจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง “มินจายอง ราชินีบัลลังก์เลือด” และบทที่ 5 สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ

Read more

การศึกษาวรรณกรรมแปลญี่ปุ่น เรื่อง “ขัปปะ”

โดย นางสาวทัชชา จุลวงศ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาวรรณกรรมแปลญี่ปุ่นเรื่อง “ขัปปะ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางวรรณกรรมของวรรณกรรมแปลญี่ปุ่นเรื่อง “ขัปปะ” ได้แก่ โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก แก่นเรื่อง และกลวิธีการแต่ง รวมทั้งศึกษาคุณค่าด้านสังคมและเศรษฐกิจของวรรณกรรมแปลญี่ปุ่นเรื่อง “ขัปปะ” นี้

Read more

การวิเคราะห์ตัวละครเอกในนวนิยายแปลญี่ปุ่นเรื่อง ฆาตกรรมคืนฝนดาวตก

โดย นางสาวปวรวรรณ พึงปิติพรชัย

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาตัวละครเอกจากนวนิยายแปลญี่ปุ่นเรื่อง ฆาตกรรมคืนฝนดาวตก ที่เขียนโดย Keigo Higashino แปลโดย อิศเรศ ทองปัสโณว์ โดยศึกษาด้านลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ สถานภาพและภาพสะท้อนชีวิตมนุษย์ผ่านพฤติกรรมของตัวละครเอก

Read more

การวิเคราะห์สภาพสังคมจีนผ่านนวนิยายแปลจีนเรื่อง คนตายยาก

โดย นางสาวจุฑาทิพย์ ทิพย์เหรียญ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวรรณกรรมแปลจีนเรื่องคนตายยาก โดยศึกษาชีวิตของคนในสังคมจีนในช่วงการเปลี่ยนแปลงเริ่มจากยุคสงครามจีนกับญี่ปุ่นครั้งที่ 2 จนถึง ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม ที่สะท้อนผ่านวรรณกรรมโดยข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ วรรณกรรมแปลจีนเรื่องคนตายยาก ของ หยูหัว ผู้แปลคือ ราพรรณ รักศรีอักษร ปีที่พิมพ์ 2552

Read more

วัฒนธรรมประเพณีจากวรรณกรรมเรื่อง สายโลหิต

โดย นางสาวกันต์สุดา โกญจนาท

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาวัฒนธรรมประเพณีที่ได้จากการศึกษาวรรณกรรมเรื่องสายโลหิตของเพิร์ล เอส บั๊ก แปลโดย สันตสิริ โดยศึกษาจากองค์ประกอบด้านตัวละคร ฉาก แก่นเรื่อง และโครงเรื่อง

Read more

การวิเคราะห์รวมเรื่องสั้นญี่ปุ่น เรื่อง รอยสักรูปหมา

โดย นางสาวนันทพร นาควิจิตร บทคัดย่อ บทความนี้เป็นการศึกษาการวิเคราะห์รวมเรื่องสั้นญี่ปุ่นเรื่อง รอยสักรูปหมา ที่เขียนโดย Otsu Ichi แปลโดย พรพิรุณ กิจสมเจตน์ มีเรื่องสั้นทั้งหมด 4 เรื่อง คือ ดวงตาแห่งศิลา ฮาจิเมะ Blue และรอยสักรูปหมา โดยศึกษาด้านวิเคราะห์องค์ประกอบและกลวิธีการประพันธ์ของรวมเรื่องสั้น “รอยสักรูปหมา” ที่ปรากฏและศึกษาคุณค่าของรวมเรื่องสั้น “รอยสักรูปหมา” ทางด้านวรรณศิลป์และทางด้านสังคมของญี่ปุ่น จากการศึกษาพบว่า นิยามศัพท์เฉพาะในนวนิยายเรื่องนี้ ได้แก่ องค์ประกอบของวรรณกรรม คือ ส่วนประกอบของวรรณกรรมที่ทำให้วรรณกรรมมีความสมบูรณ์ ประกอบด้วย โครงเรื่อง สารัตถะของเรื่อง ตัวละคร ฉาก กลวิธีการแต่ง กลวิธีการประพันธ์ หรือกลวิธีในการแต่งเรื่อง คือ วิธีการของผู้เขียนในการนำเสนอ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้เนื้อหามีสีสัน ชวนติดตามตั้งแต่ตันจนจบ นวนิยายหรือเรื่องสั้นที่มีโครงเรื่องเดียวกันแต่มีผู้เขียนต่างกัน ย่อมทำให้ผู้อ่านเห็นฝีมือในการแต่งของผู้เขียนแต่ละคนได้ กลวิธีในการแต่งจะกล่าวถึง วิธีการดำเนินเรื่อง เริ่มตั้งแต่การเปิดเรื่อง ลำดับเรื่อง การปิดเรื่อง จนกระทั่งกลวิธีการเล่าเรื่อง คุณค่าของวรรณกรรม คือ ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านวรรณกรรม ซึ่งวรรณกรรมแต่ละเรื่องจะมีคุณค่าแตกต่างกันไป เช่น … Read more

วิถีสวน วิถีเซน : วิธีการแก้ปัญหาของตัวละครในวรรณกรรมแปลญี่ปุ่น เรื่อง ซามูไรในสวนสน

โดย นางสาวพรธิดา วัชรคีรินทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและความสำคัญของลัทธิบูชิโดในสังคมญี่ปุ่น วิธีคิดแบบเซนที่มีอิทธิพลในสังคมญี่ปุ่น และเพื่อศึกษาวิธีการแก้ปัญหาของตัวละครที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างวิธีคิดแบบซามูไรและวิธีคิดแบบเซนที่ปรากฏในวรรณกรรมแปลญี่ปุ่นเรื่องซามูไรในสวนสน โดยมีสมมติฐาน คือ วรรณกรรมแปลญี่ปุ่นเรื่องซามูไรในสวนสน นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการรักษาเกียรติและศักด์ิศรีแบบซามูไร และการเผชิญหน้ากับความเป็นจริงในวิถีแบบเซน แต่ผู้เขียนเลือกให้คุณค่ากับแนวคิดประการใดประการหนึ่งมากกว่า

Read more

สังคมโบราณสู่การปฏิวัติวัฒนธรรม : ค่านิยมจากวรรณกรรม เรื่อง บ้านแตก

โดย นางสาวเพ็ญไพฑูรย์ เกริกพิทยา

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงค่านิยมของชาวจีนจากวรรณกรรมเรื่องบ้านแตกของ เพิร์ล เอส บั๊ค แปลโดยสันตสิริ ใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์องค์ประกอบของวรรณกรรม

Read more

การวิเคราะห์ความรุนแรงนวนิยายแปลญี่ปุ่น เรื่อง คำสารภาพ

โดย นางสาวธารทิพย์ พาราพิทักษ์

บทคัดย่อ

ผู้วิจัยมุ่งศึกษาถึงความรุนแรงในนวนิยาย เรื่อง คำสารภาพ ที่เขียนโดย มินะโมโตะ คะนะเอะ ที่มีลักษณะของความรุนแรงค่อนข้างชัดเจน โดยการนำเอาแนวคิดความรุนแรงและทฤษฎีทางจิตวิทยาสังคม มาใช้อธิบายปรากฏการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพฤติกรรมของตัวละครหลักของเรื่อง

Read more

การศึกษาสภาพสังคมและวิถีชีวิตของคนเกาหลีเหนือที่สะท้อนผ่านวรรณกรรม เรื่อง ใต้เงาเกาหลีเหนือ

โดย นางสาวทัศรีญา ทรงเผ่า

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพสังคมและวิถีชีวิตของคนเกาหลีเหนือ รวมไปถึงวิเคราะห์ความแตกต่างของวิถีชีวิตของคนเกาหลีเหนือที่อพยพมาประเทศเกาหลีใต้ ที่สะท้อนผ่านวรรณกรรมใต้เงาเกาหลีเหนือ

Read more

การศึกษานวนิยายแปลเกาหลีเรื่อง “แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง”

โดย นางสาวสิริกร ทองมาตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องการศึกษานวนิยายแปลเกาหลีเรื่องแดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของวรรณกรรม อันได้แก่ กลวิธีการประพันธ์ โครงเรื่อง แก่นเรื่อง ตัวละคร บทสนทนา ฉาก การใช้ภาษา และเพื่อศึกษาคุณค่า ของนวนิยายแปลเกาหลีเรื่อง แดจังกึม จองนางแห่งวังหลวงโดยใช้ทฤษฎการวิเคราะห์องค์ประกอบเรื่องสั้นและนวนิยาย มาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์

Read more

การศึกษาวิเคราะห์สารคดีอัตชีวประวัติ เรื่อง บันทึกน้ำตา 1 ลิตร

โดย นางสาวปาทิพรรณ กสิกิจวิวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์สารคดีอัตชีวประวัติ เรื่องบันทึกนํ้าตา 1 ลิตร ในด้านเนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริง ทรรศนะของผู้เขียน กลวิธีการเขียน และคุณค่าของวรรณกรรม ซึ่งใช้แนวคิดการประเมินค่าวรรณกรรมโดยการศึกษาเนื้อเรื่องและกลวิธีการเขียน ลักษณะการใช้ภาษา และคุณค่าทางสังคม

Read more