การลงทุนของอุตสาหกรรมจีนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

นางสาวจารุวรรณ พันธุ์สุ

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันนักลงทุนจีนมีจำนวนเงินลงทุนในอัตราที่สูงจึงมีบทบาทต่อเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก และการที่ต้องเผชิญภาวะสงครามการค้ากับสหรัฐอเมริกาทำให้นักลงทุนจีนบางส่วนจึงต้องย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ได้รับผลกระทบน้อย รวมถึงไทย ทำให้หลายประเทศต้องหากลยุทธ์ในการดึงนักลงทุนจีนเข้ามาลงทุนในประเทศตนเอง ขณะเดียวกันประเทศไทยก็ได้ประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษใหม่อย่างพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญต่อการช่วยดึงดูดนักลงทุนจีน การศึกษาเรื่องการลงทุนของอุตสาหกรรมจีนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาทำเลที่ตั้งและประเภทของอุตสาหกรรมจีน รวมถึงการลงทุนของอุตสาหกรรมจีนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกโดยนาข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิที่รวบรวมมาคัดแยกเป็นหมวดหมู่ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ทฤษฎีปัจจัยที่ตั้ง (Location Factors)

ผลการศึกษาพบว่า ทำเลที่ตั้งที่นักลงทุนเลือกนาเงินเข้ามาลงทุนมากที่สุดได้แก่ บริเวณอำเภอเมืองระยอง อำเภอปลวกแดง และอำเภอศรีราชา หากเป็นอุตสาหกรรมจีนเมื่อพิจารณาจากตัวอย่างก็พบว่า บริษัทอาลีบาบา ได้เลือกลงทุนบริเวณอาเภอบางปะกง บริษัท เซี่ยงไฮ้ ออโต้โมทีฟ อินดัสทรี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้เลือกพื้นที่ลงทุนจำนวน 2 แห่งคือ พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์น ซีบอร์ดและพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ดแห่งที่ 2 บริษัท ฮอลลี่ กรุ๊ป จำกัด ได้เลือกพื้นที่ลงทุนจำนวน 2 แห่งคือ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนครและนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ประเภทของอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุดของทั้ง 3 จังหวัดในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ อุตสาหกรรมผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก แต่หากเป็นอุตสาหกรรมจีนเมื่อพิจารณาจากตัวอย่างก็พบว่า บริษัทอาลีบาบา ได้เข้ามาลงทุนตั้งศูนย์กระจายสินค้าบริเวณอาเภอบางปะกง บริษัท เซี่ยงไฮ้ ออโต้โมทีฟ อินดัสทรี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ก่อตั้งโรงงานประกอบรถยนต์พวงมาลัยขวาในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์น ซีบอร์ด และตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ภายในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ดแห่งที่ 2 บริษัท ฮอลลี่ กรุ๊ป จำกัด ได้ตั้งโรงงานผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครและนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ การลงทุนของอุตสาหกรรมจีนในพื้นที่พบว่า ปัจจัยดึงดูดนักลงทุนในภาพรวมได้แก่ ปัจจัยด้านแรงงาน ด้านการขนส่ง ด้านตลาดอุตสาหกรรม เมื่อพิจารณาที่ปัจจัยดึงดูดนักลงทุนจีนได้แก่ การพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่มีความสอดคล้องกับอุตสาหกรรมในประเทศจีน พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกตั้งอยู่ศูนย์กลางตลาดการค้า CLMV การสร้างทางรถไฟและตัดถนนเชื่อมไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนการเปิดด่านการค้าชายแดน พื้นที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าน้อย ราคาอสังหาริมทรัพย์น่าสนใจ ต้นทุนการผลิตอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และไม่มีการต่อต้านคนจีน

บทความวิจัยฉบับเต็ม