การศึกษากับการพัฒนาประเทศ : ศึกษากรณีการปฏิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษาของญี่ปุ่น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2– ปี ค.ศ.1975 (Education and Development: A case study of the higher education reform in Japan, from the post-world warII – 1975)

โดย นางสาวศิริลักษณ์ มงคลศิริโรจน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับการพัฒนาประเทศญี่ปุ่นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วง ค.ศ.1945-1975 โดยมีสมมติฐานของการศึกษาคือ การปฏิรูปการศึกษาโดยเฉพาะระดับอุดมศึกษาของประเทศญี่ปุ่นเป็นปัจจัยสาคัญที่ทำให้ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาเป็นชาติมหาอำนาจโดยเฉพาะทางเศรษฐกิจตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา

ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นตามที่เห็นได้จากอัตราการเจริญเติบโตทางด้านอุตสาหกรรมภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นสามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีการทำให้ทันสมัยแบบตะวันตก กล่าวคือ ญี่ปุ่นมีความจำเป็นจะต้องเปิดประเทศและรับอิทธิพลในเรื่องวิวัฒนาการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยีจากชาติตะวันตกตั้งแต่ปลายสมัยโทกุกาวะ ทั้งนี้เพื่อความอยู่รอดของตนเองในโลกที่เป็นประชาธิปไตยและมีเศรษฐกิจแบบทุนนิยม แต่ความสำเร็จดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้ารัฐบาลญี่ปุ่นไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาไปจนถึงระดับอุดมศึกษา ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจัดเป็นรัฐที่มุ่งมั่นในการพัฒนา นั่นเป็นเพราะความเชื่อที่ว่าพื้นฐานทางการศึกษาที่ดีตั้งแต่ระดับต้นเป็นการเตรียมความพร้อมสู่ระบบการทำงานในอนาคตได้ อันจะนำไปสู่การเป็นแหล่งสะสมทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ได้ในที่สุด

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf