รูปแบบศาลเจ้าผ่านความเชื่อทางศิลปะ กรณีศึกษา: ศาลเจ้าโพธิ์ง่วนตึ๊ง

โดย นางสาวธนิตา  เมธาสิทธิพงศ์ บทคัดย่อ ในการศึกษาเรื่อง “รูปแบบศาลเจ้าผ่านความเชื่อทางศิลปะ กรณีศึกษาศาลเจ้าโพธิ์ง่วนตึ๊ง” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าจีนในไทยและศึกษาความหมายของรูปแบบสัญลักษณ์ต่างๆผ่านศาลเจ้าจีนรวมถึงรูปเคารพภายในศาลเจ้า และเพื่อศึกษาถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมของศาลเจ้าจีนผ่านรูปแบบความเชื่อทางศิลปะเพื่อนำมาวิเคราะห์ลักษณะของศาลเจ้าจีนถึงความแตกต่างตามลักษณะโครงสร้างทางความเชื่อของสถาปัตยกรรมแบบจีน ในการศึกษาครั้งนี้นอกจากจะได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของการสร้างศาลเจ้าแล้ว ยังได้สอดแทรกเกร็ดความรู้เรื่องเล่าของเทพเจ้าที่เกี่ยวข้องที่ประดิษฐานอยู่ภายในศาลเจ้าด้วย นอกจากนั้นยังศึกษาความหมายของสัญลักษณ์หรือสิ่งของที่สื่อความหมายความเป็นมงคลภายในศาลเจ้า ในการศึกษาพบว่า สถาปัตยกรรมของศาลเจ้าแห่งนี้มีโครงสร้างรูปแบบของหลังคาศาลเจ้าเป็นรูปแบบอิ้งซันติ่ง ส่วนรูปแบบผังของศาลเจ้านี้ได้ใช้ผังแบบซื่อเหอเหยียน เป็นผังที่แสดงถึงหน่วยอาคารที่ใหญ่ที่สุด จัดอยู่ในผังจำพวกผังยาวลึก ศาสนสถานแห่งนี้มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมตามแบบอย่างของจีนทางภาคใต้ สีสันที่ใช้ในศาลเจ้าก็ยังคงยึดถือตามความเชื่อแบบดั้งเดิม ดาวน์โหลด บทความวิจัย