การกลับขึ้นสู่อำนาจอนุรักษนิยมโสมขาวในสภาพสังคมแบ่งขั้ว สมัยประธานาธิบดียุน ซอกยอล

นางสาวจิณณพัต เจริญสุข

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง การกลับขึ้นสู่อำนาจอนุรักษนิยมโสมขาวในสภาพสังคมแบ่งขั้ว สมัยประธานาธิบดียุน ซอกยอล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการเมืองการปกครองในประเทศเกาหลีใต้ ความเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยมั่นคงยั่งยืน กลุ่มอนุรักษนิยมใช้วิธีการใดเพื่อกลับขึ้นมาครองอำนาจทางการเมืองจากการที่นายยุน ซอกยอล ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีในปัจจุบัน โดยมีขอบเขตการศึกษากระบวนการการเมืองของเกาหลีใต้ที่เปลี่ยนผ่านจากระบอบเผด็จการอำนาจนิยมไปสู่ประชาธิปไตยที่มั่นคง โดยมุ่งศึกษาในบทบาทของอุดมการณ์ความเป็นอนุรักษนิยมทางการเมือง ซึ่งจะแบ่งช่วงเวลาในการศึกษาลักษณะกระบวนการการเมืองเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ภาพรวมลักษณะทางการเมืองตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีรี ซึงมัน ในปี ค.ศ.1948 ถึง สมัยประธานาธิบดีปาร์ค กึนเฮ ในปี ค.ศ.2013 และช่วงที่ 2 คือ ตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีมุน แจอิลในปี ค.ศ.2017 ถึง ประธานาธิบดียุน ซอกยอล ในปี ค.ศ.2022 จากการศึกษาพบว่า เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีลักษณะสังคมเปลี่ยนแปลงความคิดอย่างรวดเร็ว พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนจึงเป็นไปในทิศทางเดียวกับลักษณะสังคมได้เสมอ ฐานเสียงและความนิยมของประชาชนมีบทบาทสำคัญต่อการเลือกตั้ง ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกเข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจ การกลับขึ้นมาสู่อำนาจอนุรักษนิยมในสภาพสังคมแบ่งขั้วในสมัยประธานาธิบดียุน ซอกยอลนี้มีปัจจัยหลักอยู่ 5 ปัจจัยที่มีอิทธิพล คือ ฐานเสียงภูมิภาคนิยม ซึ่งเป็นแบบค่านิยมความคิดของประชาชนที่ปรากฎให้เห็นในทุกการเลือกตั้ง, เส้นแบ่งทางการเมืองของการเลือกตั้งระหว่างรุ่น (Generation) หรือเส้นแบ่งระหว่างวัย, ความแตกต่างทางเพศ (Gender Conflict) มีการใช้กลยุทธจากปัจจัยความแตกต่างทางเพศ, ความขัดแย้งทางความคิดระหว่าง Old (Conservative) กับ News (Progressive) จากความเป็นพหุสังคม และปัจจัยภายนอกที่เรียกว่า ภัยคุกคามเกาหลีเหนือ