ผลกระทบการค้าระหว่างประเทศไทยและจีนช่วงโควิด

ณัฐสิทธิ์ กุลกรินีธรรม

บทคัดย่อ

การทำการค้าระหว่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ในการสร้างความเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายและการแลกเปลี่ยนสินค้าชนิดต่างๆ มากมาย ในแต่ละปีการค้าทั่วโลกมีมูลค่ามหาศาล ปัจจุบันประเทศจีนเป็นประเทศที่มีบทบาทในสังคมโลกมาก ด้านหนึ่งที่สำคัญคือการค้า นับตั้งแต่จีนเปิดประเทศเศรษฐกิจของจีนก็เติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งก็เป็นเพราะจีนกระโดดออกไปทำการค้ากับต่างประเทศ เช่นเดียวกับอาเซียนนับตั้งแต่ ประกาศจะรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ในปี 2558 อาเซียนก็ได้รับการจับตามองมาก จากทั่วโลก ด้วยเพราะจะกลายเป็นตลาดขนาดใหญ่แห่งใหม่อีกแห่งหนึ่งของโลก ด้วยความที่เป็นที่ น่าจับตามองของทั้งสองประเทศนี้และได้มีการทำการค้าระหว่างกันมาเป็นระยะหนึ่งแล้ว ผู้วิจัยจึง มีความสนใจว่ามีเหตุจูงใจใดที่ทำให้ทั้งสองประเทศนี้ทำการค้าต่อกัน และจากการติดต่อค้าขายกันนี้จะได้รับประโยชน์อะไรหรือในด้านใด โดยการนำข้อมูลมูลค่าการค้าระหว่างจีน – อาเซียน มา เปรียบเทียบหาอัตราการเจริญเติบโตและข้อมูลด้านชนิดสินค้าที่ทำการค้าขายกันเพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุการค้า ซึ่งจากการศึกษาพบว่า สาเหตุหลักที่ประเทศไทยนำเข้าสินค้าจากจีนมาจากการที่ราคา สินค้าของจีนถูกกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยด้วยกันเองรวมไปถึงประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวันฯ เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า ส่วนสาเหตุหลักที่จีนนำเข้าสินค้าจากอาเซียน เนื่องมาจากจำนวนประชากรที่มีมากในประเทศจีน ทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อการบริโภค การพัฒนาประเทศเป็นประเทศอุตสาหกรรมและการที่จีนและอาเซียนมีทรัพยากรที่แตกต่างกัน และ การค้าระหว่างจีนแลอาเซียนต่างได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ทั้งด้านการผลิตภายในประเทศที่มีการขยายตัวการจ้างงานเพิ่มและสินค้ามีความหลากหลายมากขึ้น แก้ปัญหาการขาดแคลน รวมไปถึงการได้เรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตและเทคนิคการบริหารจัดการจากกัน จากการศึกษาพบว่า ที่ผ่านมาความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับบางประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ อาจไม่ได้ราบรื่นนัก แต่จีนได้เล็งเห็นแล้วว่า ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังต้องพึ่งพาจีนอีก มาก ในการพัฒนาเศรษฐกิจของตน เมื่อเกิดวิกฤตการณ์โรคระบาด จีนจึงตัดสินใจพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ขยายอำนาจอ่อน (soft power) ในแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้