การผลิตซ้ำเพศภาวะ เพศวิถีและความรุนแรง: กรณีศึกษาละครเรื่องลาสเฟรนส์

โดย นางสาวจณิสตา โอฬารรักษ์

บทคัดย่อ

วิจัยเรื่องการศึกษา การผลิตซ้ำเพศภาวะ เพศวิถีและความรุนแรง:กรณีศึกษาละครเรื่องลาสเฟรนส์ โดยมีวัตถุประสงค์การศึกษาคือเพื่อศึกษาการผลิตซ้ำ/สร้างชุดความคิดเรื่องเพศภาวะเพศวิถี และเพื่อศึกษาการผลิตซ้ำ/สร้างชุดความคิดเรื่องความรุนแรง ผู้ศึกษาจึงเริ่มศึกษาจากลักษณะของเพศภาวะ เพศวิถีที่ปรากฏในละครเพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์การผลิตซ้ำ และศึกษาลักษณะความรุนแรงที่ปรากฏเพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์การผลิตซ้ำของละคร

โดยลักษณะเพศภาวะ และเพศวิถีที่ปรากฏในละครนั้นแบ่งออกเป็น 3 แบบคือ แบบแรกคือความเป็นหญิง แบ่งออกเป็นผู้หญิงแบบผสมเก่าและใหม่กับผู้หญิงแบบสมัยใหม่ แบบที่สองคือ ความเป็นชาย แบ่งออกเป็นผู้ชายแบบสมัยเก่ากับผู้ชายแบบสมัยใหม่ และแบบที่สามคือเพศที่สาม แบ่งออกเป็นTransgender กับ Bisexual  ผลการศึกษาพบว่าละครมีการผลิตซ้ำเพศภาวะ เพศวิถี มีดังนี้คือ การผลิตซ้ำ ผู้หญิงแบบผสมเก่าและใหม่ คือผู้หญิงที่เรียบร้อย เสนอว่าเป็นคนดี โดยเป็นตัวละครหลักและมีตอนจบนั้นจบดี   และผู้ชายแบบสมัยเก่าจะมีความน่าเชื่อถือ มีวิธีการนำเสนอคือการที่อยู่ห้องพักสวยและใหญ่ สร้างชุดความคิดใหม่ ผู้หญิงแบบสมัยใหม่ เป็นผู้หญิงเปรี้ยว แต่เป็นคนดี โดยเสนอให้เห็นว่าท้ายเรื่องจบดี ส่วนผู้ชายแบบสมัยใหม่ อ่อนแอ แต่ก็เป็นคนดี มีวิธีการคือในตอนท้ายนั้นจบดี และเพศที่สาม เสนอให้เห็นในทางบวก ทำงานเก่ง เป็นคนดี

สำหรับลักษณะความรุนแรงที่ปรากฏนั้น จากฉากที่โซสุเกะทำร้ายร่างกายมิจิรุ ฉากโซสุเกะประจานรุกะที่เธอเป็นเพศที่สาม การที่ผู้หญิงมีบทบาททำงานเกี่ยวกับการบริการ และการที่ภรรยาโองุระนอกใจ ล้วนมีที่มาจากความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม ที่มาจากความเชื่อสังคมชายเป็นใหญ่ และฉากมิจิรุถูกรุ่นพี่ที่ทำงานกลั่นแกล้ง มีที่มาจากความรุนแรงเชิงโครงสร้างจากตำแหน่งการทำงาน โดยนำลักษณะความรุนแรงนี้มาวิเคราะห์การผลิตซ้ำพบว่าละครนั้นมีการผลิตซ้ำเรื่องความรุนแรง  มีความคิดหลักที่ทำให้เกิดความรุนแรง 2 อย่างคือ       อย่างแรกนั้นในหนึ่งความคิดหลักนั้น มีทั้งการผลิตซ้ำความรุนแรงแบบเก่า,การต่อต้านความรุนแรงและสร้างความรุนแรงแบบใหม่ โดยมีที่มาและกระบวนการเกิดความรุนแรงมาจากความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม คือความเชื่อสังคมชายเป็นใหญ่ ซึ่งความเชื่อละครมีการเสนอดังนี้คือการผลิตซ้ำความรุนแรงแบบเก่า คือเรื่องการที่ผู้หญิงมีงานเหมาะสมคือการทำงานเกี่ยวกับการบริการ และการที่ผู้หญิงนอกใจสามีเป็นสิ่งที่ผิดมาก อีกทั้งการต่อต้านความรุนแรงแบบเก่า คือความรุนแรงที่ผู้ชายทำกับคู่รัก เสนอว่าเป็นสิ่งที่ผิดมาก และการสร้างความรุนแรงแบบใหม่ คือเรื่องเพศที่สามเป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น การที่ถูกรังเกียจจากผู้ชาย อย่างที่สองนั้น มีที่มาจากความรุนแรงเชิงโครงสร้าง โดยจากตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งละครนั้นมีการผลิตซ้ำความรุนแรงแบบเก่าคือเรื่องการใช้ความรุนแรงของรุ่นพี่กับรุ่นน้อง ตอกย้ำให้เห็นถึงการใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf