ข้อพิพาททะเลจีนใต้กับความมั่นคงในเอเชียตะวันออก

โดย  นางสาวมนัสวี พงษ์สระพัง

บทคัดย่อ

ทะเลจีนใต้มีอาณาเขตติดต่อทั้งหมด 7 ประเทศ คือ บรูไน จีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน และเวียดนาม โดยเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทั้งทางด้านยุทธศาสตร์ การคมนาคมและเศรษฐกิจในภูมิภาค และยังส่งผลรวมถึงมหาอำนาจภายนอกอย่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงศึกษา บทบาทของจีนในด้านความมั่นคงในเอเชียตะวันออก โดยใช้ข้อพิพาทในทะเลจีนใต้เป็นกรณีศึกษา รวมไปถึง บทบาทของอาเซียนในกรอบการประชุมอาเซียน ที่จะเป็นเวทีกลางในการแก้ไข้หรือไกล่เกลี่ยปัญหาดังกล่าวได้มากน้อยเพียงใด จากการศึกษาพบว่าจีนได้ใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น และสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มากล่าวอ้างกรรมสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้และจีนพยายามเข้ามามีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศ และพยายามจะที่ก้าวขึ้นไปเป็นมหาอำนาจแทนที่มหาอำนาจเดิมในภูมิภาคดังเช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ส่วนบทบาทและท่าทีของอาเซียนในการเป็นเวทีกลางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้นั้น ที่ผ่านมาอาเซียนยังไม่มีความเป็นเอกภาพมากพอที่จะแก้ไขหรือคลี่คลายปัญหา แต่อาเซียนก็มีท่าทีและจุดยืนอย่างแข็งขันว่า ต้องการให้การแก้ไข้ข้อพิพาทในทะเลจีนใต้เป็นไปอย่างสันติโดยการเจรจาร่วมกันของรัฐพิพาทที่เป็นสมาชิกอาเซียนกับจีนจากนี้อาเซียนควรผลักดันการเจรจาการแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธีรวมไปถึงผลักดันให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจในทะเลจีนใต้มากขึ้น โดยอาจเชิญภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทและช่วยผลักดันให้เกิดการเจรจาและความร่วมมือให้คลี่คลายข้อพิพาทดังกล่าวไปในทางที่สันติโดยเร็ว

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf