ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนในระบบบรรณาการ

โดย นางสาวปิยวรรณ วงษ์สมกลืน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของระบบบรรณาการและความสำคัญของระบบบรรณาการตลอดจนความสัมพันธ์ในระบบบรรรณาการระหว่างไทยกับจีนในแต่ละยุคสมัย เริ่มตั้งแต่ยุคเริ่มต้นจนถึงยุคสุดท้าย จุดประสงค์ในการส่งทูตของแต่ละอาณาจักร โดยใช้วิธีการศึกษาข้อมูลจากเอกสารขั้นทุติยภูมิจากเอกสาร ตำราหนังสือ และทางอินเตอร์เน็ต หาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีนกับไทยในแต่ละยุคสมัย เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็น ผลการวิจัยพบว่าความสัมพันธ์กันในระบบบรรณาการของทั้งสองอาณาจักรนั้น ต่างฝ่ายต่างมีจุดมุ่งหมายของตนเอง จุดมุ่งหมายที่สำคัญของคณะทูตไทยนั้นเป็นไปในด้านเศรษฐกิจ การที่ไทยส่งคณะทูตและของกำนัลต่างๆ ไปยังจีนนั้น มิได้หมายความว่า ไทยยอมรับความมีอำนาจเหนือกว่าของจีนแต่เป็นการปรับตัวให้เข้ากับข้อเรียกร้องต่างๆ ของจีนเพื่อที่จะได้รับสิทธิพิเศษทางด้านเศรษฐกิจ ดังนั้น ความสัมพันธ์ในแบบบรรณาการนั้นเป็นทางสายเดียวที่มีการสื่อสารสวนทางกัน ซึ่งทั้งจีนและไทยต่างก็บรรลุจุดมุ่งหมายพื้นฐานด้วยกัน ซึ่งก็คือ การอ้างสถานภาพที่มีอานาจเหนือกว่าของจีนและการได้รับสิทธิพิเศษทางด้านเศรษฐกิจของไทย แม้ว่าวัตถุประสงค์ในตอนต้นๆ จะเป็นไปในด้านการเมืองก็ตาม แต่ในสมัยต่อๆ มาการส่งทูตไทยไปจีนก็เป็นไปเพื่อสนองวัตถุประสงค์ทางด้านเศรษฐกิจ และยิ่งในต้นรัตนโกสินทร์มีวัตถุประสงค์ทางด้านเศรษฐกิจมากกว่าเรื่อง อื่นๆ

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf