อิทธิพลราชวงศ์หมิงของจีนที่มีต่อราชวงศ์โชซอนของเกาหลี

โดย นายรังสิมันต์ จันทร์แก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “อิทธิพลราชวงศ์หมิงของจีนที่มีต่อราชวงศ์โชซอนของเกาหลี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์หมิงของจีนและราชวงศ์โชซอนของเกาหลี และศึกษาอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนในสมัยราชวงศ์หมิงที่มีต่อวัฒนธรรมเกาหลีในสมัยราชวงศ์โชซอน

Read more

เปรียบเทียบการเมืองการปกครองของ จักรพรรดิคังซีกับจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง

โดย นางสาวสิริกร  ประทักษ์พิริยะ

บทคัดย่อ

การศึกษาการเปรียบเทียบการเมืองการปกครองของจักรพรรดิคังซีและจักรพรรดิเฉียนหลง เนื่องจากจักรพรรดิคังซีและจักรพรรดิเฉียนหลงเป็นจักรพรรดิที่มีชื่อเสียงและรัชสมัยของทั้งสองพระองค์ถือเป็นยุคทองของราชวงศ์ชิง ด้วยการบริหารบ้านเมืองและวิธีการแก้ไขปัญหาที่จะพัฒนาและสร้างประเทศให้มีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น

Read more

สภาพสังคมช่วงก่อนและหลังปฏิวัติวัฒนธรรม วิเคราะห์ผ่านวรรณกรรมแปล

โดย นางสาวพิชญา สุนทรศิริ

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาการปรับเปลี่ยนและผสมผสานทางสภาพสังคม นับตั้งแต่ยุคก่อนปฏิวัติวัฒนธรรม ยุคหลังปฏิวัติวัฒนธรรม และยุคหลังการเปลี่ยนแปลงระบอบเศรษฐกิจการปกครองโดย เติ้ง เสี่ยวผิง ผ่านวรรณกรรมแปลที่ประพันธ์โดยนักประพันธ์ชาวจีนผู้มีผลงานร่วมสมัย

Read more

ประธานเหมา เจ๋อ ตุง สิ้นสุดอำนาจ

โดย นางสาวรินทร์ลภัส สรรพวรพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “ ประธานเหมา เจ๋อ ตุง สิ้นสุดอำนาจ ” มีจุดมุ่งหมายที่ได้เน้นศึกษาถึงสาเหตุที่ทำให้หมดอำนาจลง ศึกษาถึงชีวประวัติ ความสำคัญ ตลอดจนสิ่งที่เหมาเจ๋อตุงมอบไว้ให้แก่ประเทศจีน จากบุคคลธรรมดาที่มาจากท้องนาเสาซาน สู่เมืองกรุงปักกิ่งอันยิ่งใหญ่ รวบรวมไพร่พลเคลื่อนทัพ จัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ มีแนวคิดที่ไม่เหมือนใคร นำไปสู่การปฏิวัติวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ของจีน สร้างความเปลี่ยนแปลงให้ชาวจีนอย่างมาก

Read more

การกอบกู้แผ่นดินจีนของจูหยวนจาง

โดย นางสาวภวิษย์พร พิมโพธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การกอบกู้แผ่นดินจีนของจูหยวนจาง” มีจุดมุ่งหมายที่ได้เน้นศึกษาถึงสาเหตุที่ทำให้จูหยวนจางซึ่งเป็นเพียงสามัญชนธรรมดา สามารถนำกองทัพปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์หยวน จนกระทั่งสามารถสถาปนาราชวงศ์หมิงและกอบกู้แผ่นดินจีนจากราชวงศ์หยวนได้สำเร็จ รวมไปถึงวิธีการดำเนินการปกครองบ้านเมืองของจักรพรรดิหมิงไท่จู่ที่สามารถรักษาอำนาจจากพวกมองโกล และวางรากฐานการปกครองให้แก่ราชวงศ์หมิงซึ่งปกครองจีนได้อย่างยาวนา

Read more

การขยายตัวของลัทธิทหารนิยมกับการเข้าสู่สงครามมหาเอเชียบูรพา ของกองทัพญี่ปุ่น ระหว่าง ค.ศ. 1930 – ค.ศ. 1945

โดย นางสาวภัชรีย์ญา พรธนัชญ์สกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “การขยายตัวของลัทธิทหารนิยมกับการเข้าสู่สงครามมหาเอเชียบูรพาของกองทัพญี่ปุ่น ระหว่าง ค.ศ. 1930 – ค.ศ. 1945” เป็นบทความวิจัยที่ศึกษาถึงการก้าวขึ้นมามีอิทธิพลในระดับโลกของกองทัพญี่ปุ่นโดยใช้ลัทธิทหารนิยมในการดาเนินการขยายอานาจเพื่อให้ญี่ปุ่นกลายเป็น จักรวรรดินิยม ซึ่งการขยายตัวของลัทธิทหารนิยมของกองทัพญี่ปุ่น ระหว่าง ค.ศ.1930 – ค.ศ.1945 ญี่ปุ่นสามารถขยายอานาจของตนไปยังภูมิภาคต่างๆ จนในที่สุดก็นาไปสู่สงครามมหาเอเชียบูรพา โดยบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษา ปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริมต่อการขยายตัวของลัทธิทหารนิยมของกองทัพญี่ปุ่น การดำเนินการขยายอำนาจของกองทัพญี่ปุ่นออกสู่ภายนอกประเทศ

Read more

บทบาททางการเมืองของประชาชนเกาหลีตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงปี ค.ศ.1981

โดย นางสาวสุธิดา หอมหวลดี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาททางการเมืองของประชาชนเกาหลีตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงปี ค.ศ.1981 ผลการศึกษาพบว่าบทบาททางการเมืองของประชาชนในสมัยโชซอนมีน้อยมาก ประชาชนมีการรวมตัวประท้วงรัฐบาลบ้างแต่ก็เป็นเพราะเรื่องของปากท้องและความเดือดร้อนจากการถูกข้าราชการรีดไถ

Read more

ข้อพิพาททางดินแดนระหว่างประเทศสาธารณรัฐเกาหลีกับประเทศญี่ปุ่น: เกาะด็อคโด (Dokdo)

โดย นางสาวพิชญา พงศ์เต็มสุข

บทคัดย่อ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสาธารณรัฐเกาหลีและประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันมีลักษณะแบบพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจหรือที่นักวิชาการบางท่านได้ให้คำนิยามความสัมพันธ์แบบนี้ว่าความร่วมมือเชิงการแข่งขัน (Competitive Cooperation) กล่าวคือในเบื้องลึกแล้วอาจมีความเคลือบแคลงใจต่อกันแต่เพื่อความเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาชาติในศตวรรษแห่งทุนนิยมนี้จำต้องสร้างมิตรภาพและความร่วมมือกันให้ได้ในระดับหนึ่ง เนื่องมาจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้ทั้งสองประเทศเกิดความไม่สนิทใจต่อกัน รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตและยังไม่ได้รับการแก้ไข หนี่งในปัญหานั้นคือข้อพิพาททางดินแดนกรณีเกาะด็อคโด

Read more

ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนในระบบบรรณาการ

โดย นางสาวปิยวรรณ วงษ์สมกลืน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของระบบบรรณาการและความสำคัญของระบบบรรณาการตลอดจนความสัมพันธ์ในระบบบรรรณาการระหว่างไทยกับจีนในแต่ละยุคสมัย เริ่มตั้งแต่ยุคเริ่มต้นจนถึงยุคสุดท้าย จุดประสงค์ในการส่งทูตของแต่ละอาณาจักร โดยใช้วิธีการศึกษาข้อมูลจากเอกสารขั้นทุติยภูมิจากเอกสาร ตำราหนังสือ และทางอินเตอร์เน็ต หาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีนกับไทยในแต่ละยุคสมัย เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็น

Read more

การเคารพศาลเจ้ายาสุคุนิของนายกจุนอิชิโร่ โคอิซึมิกับความขัดแย้งระหว่างญี่ป่น กับจีนกับเกาหลี

โดย นางสาววารีย์ยา ภาวงศ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประว้ติความเป็นมาและความสำคัญของศาลเจ้ายาสุคุนิที่มีต่อ สงครามโลกครั้งที่ 2 การเดินทางไปเคารพศาลเจ้ายาสุคุนิของผู้นำของประเทศญี่ป่น รวมไปถึงความขัดแย้ง ระหว่างญี่ปุ่นกับจีนและเกาหลีช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และ ความขัดแย้งระหว่างญี่ปุ่นกับจีนและเกาหลี ภายหลังการเดินทางไปเคารพศาลเจ้ายุสุคุนิของนายกรัฐมนตรึจุนอิชิโร่ โคอิซึมิอีกด้วย ทั้งนี้ได้ศึกษาจากเอกสารชั้นรอง

Read more

บทบาทของพลเอกโตโจ ฮิเดะกิ : จากนายกรัฐมนตรีสู่อาชญากรสงคราม

โดย นางสาวเบญจพร ไพรศร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “บทบาทของพลเอกโตโจ ฮิเดะกิ : จากนายกรัฐมนตรีสู่อาชญากรสงคราม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของพลเอกโตโจ ฮิเดะกิ ในฐานะนายกรัฐมนตรี การดำเนินนโยบายทางด้านการทหารที่นำพาประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 อีกทั้งศึกษาถึงผลกระทบจากการพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีต่อพลเอกโตโจ ฮิเดะกิและประเทศญี่ปุ่น โดยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารชั้นรอง ซึ่งประกอบด้วยหนังสือ บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

Read more

การดำเนินนโยบายการเปิดประเทศญี่ป่นในช่วง ค.ศ. 1854-1920

โดย นางสาววัชราภรณ์จีรานุโกศล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายให้เห็นถึงการดำเนินนโยบายการเปิดประเทศญี่ป่นในช่วง ค.ศ. 1854-1920 เน้นศึกษาถึงป้จจัยที่ส่งผลให้ญี่ป่นดำเนินนโยบายเปิดประเทศในปลายสมัยโทกุงะวะ ศึกษาการดำเนินนโยบายเปิดประเทศญี่ป่นตลอดจนศึกษาถึงผลของการดำเนินนโยบายเปิดประเทศที่ สามารถแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม โดยศึกษาจากข้อมูลเอกสารชั้นรองที่เป็นหนังสือและบทความ

Read more