วัฒนธรรมอาหารถิ่นทางตอนใต้ของประเทศจีน กรณีศึกษามณฑลกวางตุ้ง

โดย นางสาวฐิตารีย์ ตะโกเนียม

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์เรื่อง วัฒนธรรมอาหารถิ่นทางตอนใต้ของประเทศจีน กรณีศึกษามณฑลกวางตุ้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พัฒนาการของอาหาร ประเภทและวัฒนธรรมการบริโภคอาหาร และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอาหารกวางตุ้ง โดยมีวิธีการศึกษาคือ รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์องค์การบริหารการท่องเที่ยวจังหวัดกวางตุ้ง จากนั้นนำมาวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า อาหารกวางตุ้งมีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น โดยลักษณะนิสัยเดิมของคนกวางตุ้งในยุคโบราณที่นิยมทานอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์สด ๆ จนกระทั่งได้รับอิทธิพลการทานอาหารของผู้อพยพจากพื้นที่ภาคกลาง มีวัฒนธรรมการทำเส้นก๋วยเตี๋ยว และกรรมวิธีการปรุงอาหารด้วยวิธีต้มกับนึ่ง ต่อมาได้รับอิทธิพลการปรุงอาหารจากชาติตะวันตก โดยการใช้กระทะไฟอ่อน และการใช้ไวน์เป็นส่วนผสม ส่งผลให้อาหารกวางตุ้งมีการผสมผสานระหว่างสองวัฒนธรรม ก่อให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์ โดยคงความสดใหม่และรสชาติดั้งเดิมของวัตถุดิบ นอกจากนี้ยังพบว่า อาหารกวางตุ้งสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารแต้จิ๋ว อาหารกวางโจว และอาหารตงเจียงหรือฮากกา อาทิ ไก่อบเกลือตงเจียงจากกลุ่มอาหารตงเจียง ติ่มซำจากกลุ่มอาหารแต้จิ๋ว และมังกรสู้เสือจากกลุ่มอาหารกวางโจว ในส่วนของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอาหารกวางตุ้งส่วนใหญ่ เกิดขึ้นจากการรับวัฒนธรรมจากภายนอก โดยเฉพาะวัฒนธรรมของชาวตะวันตก

ดาวน์โหลด บทความวิจัย

icon-pdf