การจัดการการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ กรณีเปรียบเทียบ ประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทย

โดย นางสาวสลิลทิพย์ กระแสกลาง

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์เรื่อง การจัดการการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ กรณีเปรียบเทียบ ประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมท่องเที่ยวและรูปแบบการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ อีกทั้งวิเคราะห์เปรียบเทียบการจัดการการท่องเที่ยวของประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลด้วยการสำรวจพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง นักท่องเที่ยวสูงอายุชาวญี่ปุ่นจำนวน 7 ราย ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และใช้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวรวมทั้งกิจกรรมของนักท่องเที่ยวจากสมาคมท่องเที่ยวจังหวัดเกียวโต

ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวกลุ่มสูงอายุชาวญี่ปุ่น ส่วนใหญ่อายุ 60 ปีขึ้นไป มีแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ที่นักท่องเที่ยวสูงอายุชาวญี่ปุ่นนิยมคือ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร และวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร โดยกิจกรรมที่นิยม ได้แก่ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงอาจกล่าวได้ว่ารูปแบบการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มตัวอย่างคือ รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม และรูปแบบการท่องเที่ยวตามความสนใจพิเศษ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการจัดการการท่องเที่ยวของจังหวัดเกียวโต และจังหวัดเชียงใหม่สำหรับนักท่องเที่ยวสูงอายุ พบว่า ทั้งสองจังหวัดเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดีนักท่องเที่ยวนิยมท่องเที่ยวระยะสั้นในจังหวัดเกียวโต ในขณะที่จังหวัดเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวจะนิยมท่องเที่ยวในระยะยาวเนื่องจากมีค่าครองชีพต่ำกว่า

ดาวน์โหลด บทความวิจัย

icon-pdf