การขยายตัวของลัทธิทหารนิยมกับการเข้าสู่สงครามมหาเอเชียบูรพา ของกองทัพญี่ปุ่น ระหว่าง ค.ศ. 1930 – ค.ศ. 1945

โดย นางสาวภัชรีย์ญา พรธนัชญ์สกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “การขยายตัวของลัทธิทหารนิยมกับการเข้าสู่สงครามมหาเอเชียบูรพาของกองทัพญี่ปุ่น ระหว่าง ค.ศ. 1930 – ค.ศ. 1945” เป็นบทความวิจัยที่ศึกษาถึงการก้าวขึ้นมามีอิทธิพลในระดับโลกของกองทัพญี่ปุ่นโดยใช้ลัทธิทหารนิยมในการดาเนินการขยายอานาจเพื่อให้ญี่ปุ่นกลายเป็น จักรวรรดินิยม ซึ่งการขยายตัวของลัทธิทหารนิยมของกองทัพญี่ปุ่น ระหว่าง ค.ศ.1930 – ค.ศ.1945 ญี่ปุ่นสามารถขยายอานาจของตนไปยังภูมิภาคต่างๆ จนในที่สุดก็นาไปสู่สงครามมหาเอเชียบูรพา โดยบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษา ปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริมต่อการขยายตัวของลัทธิทหารนิยมของกองทัพญี่ปุ่น การดำเนินการขยายอำนาจของกองทัพญี่ปุ่นออกสู่ภายนอกประเทศ ตลอดจนผลกระทบจากการดำเนินนโยบายลัทธิทหารนิยมของกองทัพญี่ปุ่นที่มีต่อญี่ปุ่น ทั้งนี้ได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารชั้นรองซึ่งประกอบด้วยหนังสือ บทความจากวารสารภาษาไทย ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงที่มีการล่าอาณานิคมของจักรวรรดินิยมตะวันตก ญี่ปุ่นไม่ต้องการให้ประเทศของตนตกเป็นอาณานิคม จึงเร่งพัฒนาประเทศด้วยนโยบายของรัฐตามแนวทาง “ฟุโกกุ-เคียวเฮ” การพัฒนาประเทศตามนโยบายดังกล่าว ส่งผลให้ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาไปอย่างรวดเร็วจนทัดเทียมกับตะวันตก หลังจากนั้นกองทัพญี่ปุ่นจึงได้ขยายอิทธิพลออกสู่ภายนอกประเทศโดยใช้ลัทธิทหารนิยม ซึ่งนำพาญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามมหาเอเชียบูรพา แต่สุดท้ายผลจากการพ่ายแพ้สงครามได้ผลักดันให้ญี่ปุ่นต้องประสบกับความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf