การปรับตัวต่อโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไปของประเทศญี่ปุ่น กรณีศึกษา ธุรกิจสถานบริการดูแลผู้สูงอายุ

โดย นางสาววณิชชา บุตรศรี

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์เรื่องการปรับตัวต่อโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไปของประเทศญี่ปุ่น  กรณีศึกษา  ธุรกิจสถานบริการดูแลผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุ และการปรับตัวต่อการก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุของประเทศญี่ปุ่น และเพื่อศึกษารูปแบบการจัดการธุรกิจสถานบริการดูแลผู้สูงอายุ หรือชุมชนผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่น โดยมีวิธีการศึกษา คือ รวบรวมข้อมูลประชากรตั้งแต่พ.ศ. 2558-2562 จากหน่วยงาน World Meters และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจสถานบริการดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงชุมชนผู้สูงอายุ ในแง่ของนโยบาย และพัฒนาการจากหน่วยงาน Health and Welfare Bureau for the Elderly Ministry of Health, Labour and Welfare จากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์เชิงบรรยาย

ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุที่นำประเทศญี่ปุ่นเข้าไปสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุนั้นมีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน คือประชากรญี่ปุ่นครองตัวเป็นโสด หรือแต่งงานช้าและไม่ยอมมีบุตรมากขึ้น อัตราการเกิดน้อยสวนทางกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น โดยค่าเฉลี่ยอายุปัจจุบันของประชากรญี่ปุ่นอยู่ที่ 46.7 ปี ซึ่งในระยะเวลา 4 ปี ประเทศญี่ปุ่นมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นถึง 0.4 ปี ดังนั้นรัฐบาลจึงออกนโยบายเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยส่งเสริมให้คนญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะมีบุตร มีมาตรการในการจ้างแรงงานสูงอายุให้ทำงานต่อไปได้ อนุญาตให้คนงานต่างชาติในบางสาขาเข้ามาทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้ และปฏิรูปโครงสร้างระบบสาธารณะสุขของประเทศ โดยการจัดการธุรกิจสถานบริการดูแลผู้สูงอายุของประเทศญี่ปุ่นจะบริหารงานโดยการปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน และแบ่งเป็นบริหารงานโดยภาครัฐและภาคเอกชน โดยเป็นงานบริการในสถานบริการและงานบริการที่บ้าน

ดาวน์โหลด บทความวิจัย

icon-pdf