การเปลี่ยนแปลงด้านความหมายของคำยืมภาษาจีนที่ปรากฏในภาษาไทย

โดย นายต้นกล้า กัลยกฤต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงด้านความหมายของคำยืมภาษาจีนที่ปรากฏในภาษาไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คำยืมภาษาจีนที่ปรากฏในภาษาไทย และการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำยืมภาษาจีนที่ปรากฏในภาษาไทย โดยผู้วิจัยมีวิธีการเก็บรวบรวมคำยืมภาษาจีนที่ปรากฏในภาษาไทยจากหนังสือ “คำจีนสยามภาพสะท้อนปฏิสัมพันธ์ไทย-จีน” ของวรศักดิ์ มหัทธโนบล เพื่อศึกษาเฉพาะคำยืมที่มีการเปลี่ยนแปลงความหมายพบจำนวน 159 คำ ซึ่งผู้วิจัยใช้กรอบความคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำยืมของ สมทรง บุรุษพัฒน์ เป็นแนวทางการวิเคราะห์

ผลการศึกษาพบว่า คำยืมภาษาจีนที่ปรากฏในภาษาไทยเฉพาะคำที่มีการเปลี่ยนแปลงความหมาย เมื่อนำใช้ในภาษาไทยนั้นสามารถจัดได้ 3 ประเภท คือ 1) คำยืมที่มีความหมายกว้างออกมีจำนวน 53 คำ คิดเป็นร้อยละ 33.33 2) คำยืมที่มีความหมายแคบเข้ามีจำนวน 51 คำ คิดเป็นร้อยละ 32.07 3) คำยืมที่มีความหมายย้ายที่มีจำนวน 55 คำ คิดเป็นร้อยละ 34.59 คำยืมภาษาจีนที่ปรากฏในภาษาไทยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงความหมาย ยังสามารถสะท้อนสภาพสังคมและวัฒนธรรมของไทยที่รับมาจากสังคมและวัฒนธรรมจีน ทางด้านความคิด ภาษา สิ่งของใหม่ ๆ และความคิดที่ไม่ปรากฏในสังคมไทย คำยืมดังกล่าวแสดงการสัมผัสภาษาและวัฒนธรรมไทย-จีนที่น่าสนใจ ส่งผลให้ผู้ศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทย-จีนมากยิ่งขึ้น

ดาวน์โหลด บทความวิจัย

icon-pdf