“วรรณกรรมแปลญี่ปุ่นสะท้อนสังคม : กรณีศึกษา วรรณกรรมแปลเรื่อง แท็กซี่มีแมว”

โดย นางสาวแพรววนิต ศรีดี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง วรรณกรรมแปลญี่ปุ่นสะท้อนสังคม กรณีศึกษาวรรณกรรมแปลเรื่องแท็กซี่มีแมว เป็นการศึกษาวรรณกรรมแปลญี่ปุ่นเรื่องแท็กซี่มีแมวซึ่งเป็นผลงานของยูจินากาโมริ อุภาวรรณ เบ็ญจโภคี เป็นผู้แปล วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมและสภาพสังคมที่สะท้อนผ่านวรรณกรรมโดยวิเคราะห์จากพฤติกรรมตัวละคร

ผลการศึกษาพบว่า ในวรรณกรรมเรื่องแท็กซี่มีแมวมีลักษณะสังคมแบบสมัยใหม่ ผู้แต่งนำเสนอปัญหาที่เกิดในสังคมผ่านตัวละครรองหลายตัวที่เข้ามามีความสัมพันธ์กับตัวละครหลัก ทำให้พบว่าค่านิยมในการทำงานเปลี่ยนไป ผู้คนให้ความสำคัญกับผลลัพธ์หรือกำไรมากขึ้น และการรับเอาวัฒนธรรมอื่นเข้ามาส่งผลให้เกิดการปะทะกันระหว่างวัฒนธรรมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมและวัฒนธรรมตะวันตก ตัวละครหลักเปรียบเสมือนตัวแทนวัฒนธรรมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ด้านวัฒนธรรมและค่านิยม ทำให้เกิดแรงกดดันและความเครียดจนประสบปัญหาในชีวิต ก่อนจะพบกับตัวละครหลักตัวที่สองเป็นแมวสามสีโดยเปรียบเสมือนสัญลักษณ์แห่งความโชคดีตามความเชื่อของญี่ปุ่นทำให้ชีวิตของตัวละครเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นด้วยการปรับตัวให้กลมกลืนไปกับวัฒนธรรมในสังคมแบบใหม่โดยที่ไม่สูญเสียเอกลักษณ์ของตนเอง

ดาวน์โหลด บทความวิจัย

icon-pdf