ภาพเล่าเรื่องเก็นจิโมโนกาตาริบนเอมากิโมโนะ (Emakimono) ในสมัยเฮอัน

โดย นางสาวชญานุตม์ พงศ์วรวัฒน์

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์เรื่องภาพเล่าเรื่องเก็นจิโมโนกาตาริบนเอมากิโมโนะ (Emakimono) ในสมัยเฮอัน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะภาพเขียนที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่องเก็นจิโมโนกาตาริ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบและฉากเหตุการณ์ที่ปรากฏในภาพเขียนร่วมกับวรรณกรรม

ผลการศึกษาพบว่า ยุคเฮอันเป็นยุคที่รุ่งเรืองทั้งทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่สะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นญี่ปุ่นอย่างชัดเจน ในยุคนี้เกิดตัวอักษรที่เรียกว่า “คะนะ” ทำให้การประพันธ์และการบันทึกวรรณกรรมเป็นที่แพร่หลาย ส่งผลให้เกิดกวีที่เป็นสตรีมากขึ้น ผลงานที่โดดเด่นมากที่สุดในยุคเฮอันที่ประพันธ์โดยสตรี คือ นวนิยายเก็นจิโมโนกาตาริ ประพันธ์โดย มุราซากิ ชิคิบุ นางข้าหลวงในวัง ซึ่งนำเสนอเส้นทางชีวิต รวมถึงเรื่องราวความรักของฮิคารุ เก็นจิ พร้อมทั้งนำเสนอชีวิตของขุนนางและสตรีในวังหลวงในสมัยเฮอันได้เป็นอย่างดี จิตรกรจึงนิยมสร้างผลงานจากเรื่องราววรรณกรรมที่โดดเด่น เก็นจิโมโนกาตาริจึงได้ถูกเลือกมาสร้างสรรค์เป็นผลงานเอมากิโมโนะ (Emakimono) ซึ่งมีลักษณะเป็นภาพม้วนแบบญี่ปุ่นอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้จิตรกรมักเลือกสร้างสรรค์ผลงานจากเนื้อเรื่องที่เป็นฉากเด่นของแต่ละตอน หรือช่วงที่ผู้ประพันธ์มีการแทรกข้อคิดเตือนใจให้แก่ผู้อ่าน รวมถึงการนำเสนอประเพณีและวัฒนธรรมของชาววังในสมัยเฮอัน

ดาวน์โหลด บทความวิจัย

icon-pdf