การศึกษาลวดลายที่ปรากฏบนเสาในสถาปัตยกรรมศิลปะจามแบบมิเซิน E1

นางสาวณัฏฐณิชา ประพฤติกิจ

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์เรื่อง การศึกษาลวดลายที่ปรากฏบนเสาในสถาปัตยกรรมศิลปะจามแบบมิเซิน E1 มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาลวดลายที่ปรากฏบนเสาในสถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน E1 โดยศึกษาจากเสาประดับบนฐานสลักหินภายในปราสาทมิเซิน E1 และเปรียบเทียบกับรูปแบบศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16

ผลการศึกษาพบว่า ฐานสลักหินภายในปราสาทมิเซิน E1 ถูกสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานศิวลึงค์ขนาดใหญ่ ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย บริเวณรอบฐานสลักหินปรากฏรูปแบบสถาปัตยกรรมและลวดลาย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 แกะสลักอย่างประณีตเป็นภาพการร่ายรำ การเล่นดนตรี รวมถึงกิจกรรมทางศาสนาพราหมณ์ ลายส่วนใหญ่เป็นลายพรรณพฤกษาและลายประจำยามก้ามปูซึ่งเป็นลักษณะเด่นของปราสาทหมายเลข E1 บริเวณซุ้มโค้งที่ปรากฏบนฐานสลักหินแกะสลักลวดลายดอกไม้ ตรงตัวเสาเซาะให้เกิดร่องตรงกลาง ลักษณะลวดลายที่ปรากฏบนฐานสลักหินนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับลวดลายประดับที่พบในศิลปะสมัยทวารวดีและสมัยสมโบร์ไพรกุก ซึ่งศิลปะเหล่านี้ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดีย

ดาวน์โหลด บทความวิจัย

icon-pdf