การวิเคราะห์แนวโน้มการบริโภคชาในประเทศญี่ปุ่น

นางสาวกมลชนก หวังสิวกลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณการบริโภคชาของชาวญี่ปุ่นในแต่ละปีและวิเคราะห์แนวโน้มการบริโภคชาในประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยชาเขียว ชาดำและชาอู่หลง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ สถิติการบริโภคชาเขียว ชาดำ และชาอู่หลงในประเทศญี่ปุ่น โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรม SPSS และวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการคำนวณหาเส้นถดถอยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Least – square method)

ผลการศึกษาพบว่าแนวโน้มการบริโภคชาเขียว ชาดำ และชาอู่หลงในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1980 ถึง 2012 ค่าความสัมพันธ์ของชาทั้งสามมีทั้งความสัมพันธ์เชิงบวกและเชิงลบ โดยในปี 1980 ถึง 1990 ความสัมพันธ์ของการบริโภคชาเขียวกับชาดำเป็นความสัมพันธ์เชิงลบ และความสัมพันธ์ของการบริโภคชาเขียวกับชาอู่หลงก็เป็นความสัมพันธ์เชิงลบเช่นเดียวกัน แต่ความสัมพันธ์ของชาดำ กับชาอู่หลงเป็นความสัมพันธ์เชิงบวก ในระหว่างปี 1990 ถึง 2000 ความสัมพันธ์ของการบริโภคชาทั้ง 3 ชนิด คือ ชาเขียว ชาดำ และชาอู่หลงเป็นความสัมพันธ์เชิงบวก ในระหว่างปี 2000 ถึง 2006 ความสัมพันธ์ของการบริโภคชาเขียวกับชาดำเป็นความสัมพันธ์เชิงบวก แต่ความสัมพันธ์ของการบริโภคชาเขียวกับชาอู่หลงเป็นความสัมพันธ์เชิงลบ ความสัมพันธ์ของชาดำกับชาอู่หลงเป็นความ สัมพันธ์เชิงบวก และในระหว่างปี 2006 ถึง 2012 ความสัมพันธ์ของการบริโภคชาเขียวกับชาดำเป็นความสัมพันธ์เชิงลบ แต่ความสัมพันธ์ของการบริโภคชาเขียวกับชาอู่หลงเป็นความสัมพันธ์เชิงบวก แต่ความสัมพันธ์ของชาดำกับชาอู่หลงเป็นความสัมพันธ์เชิงลบ โดยสาเหตุที่ทำให้การบริโภคชาเขียวเพิ่มขึ้น คือ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวญี่ปุ่นเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการกินต่างๆ เครื่องปรุง การปรุงอาหาร ตามแบบตะวันตกมากขึ้น แนวโน้มการบริโภคพฤติกรรมการกินอย่างเรียบง่ายก็เริ่มแพร่หลายมากขึ้น อีกทั้งปัจจัยที่สำคัญคือชาวญี่ปุ่นหันมาสนใจเรื่องสุขภาพและเครื่องดื่มที่ปราศจากน้ำตาลมากขึ้น รวมถึงปัจจัยทางเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนการใช้บรรจุภัณฑ์มาเป็นแบบขวดพลาสติก PET และการแพร่ขยายของตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติ (Vending Machine)

บทความวิจัยฉบับเต็ม