ความสัมพันธ์ระหว่างบุรุษในสังคมญี่ปุ่น (คริสต์ศตวรรษที่ 12-19)

นางสาวสุธามน สืบเส้ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างบุรุษในสังคมญี่ปุ่น (คริสต์ศตวรรษที่ 12-19) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างชาย-ชาย ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น และศึกษาหาปัจจัยที่ทำให้เกิดและปัจจัยที่ทำให้เสื่อมสลายของความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันในสังคมญี่ปุ่นในอดีต โดยศึกษาจากศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องรักร่วมเพศในสังคมญี่ปุ่นรวมถึงศึกษาจากบริบททางประศาสตร์ญี่ปุ่น

ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบุรุษในสังคมญี่ปุ่นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 – 19 มีชื่อเรียกสองแบบ คือ นันโชคุ (Nanshoku) หรือ ดันโชคุ (Danshoku) และวะคะชุโด
(Wakashudo) เมื่อแปลเป็นภาษาไทยจะได้ว่า “ความพึ่งพอใจทางเพศของผู้ชาย” และ “วิถีของเด็กหนุ่ม” ตามลำดับ

ความสัมพันธ์ระหว่างบุรุษในสังคมญี่ปุ่นเริ่มต้นจากในวัด เนื่องจากผู้ที่นำรูปแบบความสัมพันธ์ “นันโชคุ” เข้ามาเผยแพร่เป็นพระสงฆ์ ก่อนที่รูปแบบความสัมพันธ์ดังกล่าวจะถูกเผยแพร่ออกสู่ภายนอกโดยชนชั้นนักรบที่ครั้งหนึ่งถูกส่งให้เข้าไปเรียนหนังสือในวัดและเคยอยู่ใต้ความสัมพันธ์นันโชคุ เมื่อนักรบนำออกมานอกวัดแล้วจึงใช้ชื่อใหม่ว่า “วะคะชุโด” เมื่อถึงยุครุ่งเรืองของเหล่าพ่อค้าในช่วงยุคเอโดะ (ค.ศ. 1600-1868) วะคะชุโดกลับถูกลดคุณค่าลงกลายเป็นเพียงสิ่งบันเทิงสำหรับผู้มีฐานะในสังคม และสุดท้ายกลายเป็นสิ่งที่ผิดธรรมชาติเมื่อกระแสตะวันตกหลั่งเข้าสู่
ญี่ปุ่นในคริสต์ศตวรรษที่ 19

บทความวิจัยฉบับเต็ม