ภาพแทนความเป็นเพศในประเทศญี่ปุ่นผ่านภาพยนตร์เรื่อง Close-Knit

นางสาวปัญญาพร อุ่นบริบูรณ์

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์เรื่องภาพแทนความเป็นเพศในประเทศญี่ปุ่นผ่านภาพยนตร์เรื่อง Close-knit มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพแทนความเป็นเพศและความสัมพันธ์เชิงอานาจระหว่างเพศที่ปรากฏในภาพยนตร์ ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวิธีการศึกษาคือ การรวบรวมข้อมูลจากการค้นคว้าและการดูภาพยนตร์ โดยใช้แนวความคิดการสร้างภาพแทน (Representation) ของ สจ๊วต ฮอลล์ และแนวคิดเรื่องเพศภาวะ เพศวิถี และสตรีนิยม มาใช้ในการวิเคราะห์

ผลการศึกษาพบว่า ภาพยนตร์เรื่อง Close-Knit มีการนาเสนอภาพแทนความเป็นเพศที่หลากหลาย แต่ยังคงมีภาพเหมารวมและสร้างมายาคติในแบบเดิม ได้แก่ ภาพแทนผู้ชายโผงผาง, ภาพแทนผู้ชายอบอุ่น, ภาพแทนผู้หญิงสมัยเก่า, ภาพแทนผู้หญิงสมัยใหม่ซึ่งมีทั้งผู้หญิงที่ดีและไม่ดี, ภาพแทนเพศที่สามเป็นเกย์ซึ่งมีทั้งวัยเด็กและผู้ใหญ่ และภาพแทนเพศที่สามที่เป็นหญิงข้ามเพศ

ความสัมพันธ์เชิงอานาจระหว่างเพศพบว่า ผู้ชายจะมีอานาจมากที่สุดรองลงมาคือผู้หญิง ส่วนเพศที่สามจะมีอานาจน้อยที่สุด พื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะผู้หญิงจะมีสถานะเป็นรองต่อผู้ชาย เนื่องจากการสนับสนุนสถาบันความเป็นแม่และการลดทอนงานบ้านในพื้นที่ส่วนตัว ส่วนเพศที่สามพบว่าในพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะจะมีสถานะเป็นรองต่อทั้งผู้ชายและผู้หญิง ด้วยการถูกมองว่าแปลกแยกและเป็นบุคคลชายขอบ อีกทั้งพบว่า ความสัมพันธ์เชิงอานาจระหว่างเพศที่สามกับเพศที่สาม เพศที่สามที่เป็นหญิงข้ามเพศจะมีสถานะเป็นรองต่อเพศที่สามที่เป็นเกย์

บทความวิจัยฉบับเต็ม