ปรัชญาการเมืองของขงจื๊อกับการปกครองเกาหลีสมัยราชวงศ์โชซอน

โดย นางสาวภูนลิน ประชุมเวช

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ระบบการเมืองการปกครองของเกาหลีในสมัยโชซอน และเพื่อศึกษาและวิเคราะห์หลักปรัชญาการเมืองของขงจื๊อที่มีผลต่อระบบการปกครองของเกาหลีในสมัยราชวงศ์โชซอน โดยผู้วิจัยศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องปรัชญาการเมืองของขงจื๊อ และการปกครองของเกาหลีในสมัยราชวงศ์โชซอน แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าระบบการเมืองการปกครองของเกาหลีในสมัยราชวงศ์ โชซอนมีลักษณะการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีสภาการปกครองสูงสุด สำนักราชเลขา สภาผู้ตรวจการแผ่นดิน มีกระทรวงหลักอีก 6 กระทรวง ซึ่งมีกฎหมายที่ระบุหน้าที่สาหรับกระทรวงทั้ง 6 และมีการจัดตั้งสานักงาน 3 แห่งเพื่อตรวจสอบหน่วยงานปกครอง และยังมีหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการปกครองคือ มีวิธีการสอบคัดเลือกขุนนางโดยจะสอบเกี่ยวกับตาราคาสอนของขงจื๊อ และมีการจัดตั้งโรงเรียนประถม และมัธยมที่มีการสอนเกี่ยวกับตาราขงจื๊อ ส่วนในเรื่องของหลักปรัชญาการเมืองของขงจื๊อที่มีผลต่อระบบการปกครองเกาหลีในสมัยราชวงศ์โชซอนนั้นก็คือ เรื่องความสัมพันธ์ทั้งห้า และการทำนามให้เที่ยง ซึ่งทำให้สังคมเกาหลีมีระบบชนชั้น และสามารถเปลี่ยนแปลงสถานภาพได้ยาก ต่อมาคือเรื่องขนบจารีต-มนุษยธรรม (หลี่-เหริน) ทำให้สังคมโชซอนมีลักษณะที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาคัมภีร์ขงจื๊อ โดยจะต้องให้การศึกษาเกี่ยวกับคัมภีร์ขงจื๊อแก่ผู้ที่จะเข้ามาเป็นขุนนางฝ่ายปกครอง นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งสำนักงานตรวจสอบหน่วยงานปกครอง มาตรการเพื่อใช้ควบคุมขุนนางที่ปกครองส่วนท้องถิ่น และมีการจำกัดการค้าขายตามลัทธิขงจื๊อ และแนวความคิดสุดท้ายคือการเน้นความสำคัญที่ผู้ปกครอง หรือกษัตริย์ ปรากฏในสังคมโชซอนในลักษณะที่กษัตริย์มีอำนาจสูงสุด แต่เหล่าขุนนางก็สามารถคานอำนาจกษัตริย์ได้เช่นกัน

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf