ชาวนาต้องมีที่นาเป็นของตนเอง (Người Cày Có Ruộng)”: นโยบายการปฏิรูปที่ดินในเวียดนามเหนือ (1930-1956)

นายจิรภัทร คันธชาติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “ชาวนาต้องมีที่นาเป็นของตนเอง(Người Cày Có Ruộng)”: นโยบายการปฏิรูปที่ดินในเวียดนามเหนือ (1930-1956) ศึกษานโยบายการปฏิรูปที่ดินในเวียดนามเหนือ แนวคิดของนโยบาย ตลอดจนขั้นตอนการปฏิบัติและผลอันเกิดจากนโยบาย ตั้งแต่ช่วงริเริ่มแนวคิดในปี 1930 จนกระทั้งแล้วเสร็จในปี 1956

ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า นโยบายการปฏิรูปที่ดินในเวียดนามเหนือนั้นริเริ่มโดยมี เจื่องจิง(Trường Chinh) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นผู้เสนอและประธานรับผิดชอบนโยบายการปฏิรูปที่ดิน แนวทางการดำเนินการปฏิรูปที่ดินนี้ประกอบไปด้วย 2 ระยะ โดยระยะแรกได้แก่ ขั้นตอนการลดค่าเช่าที่ดินลง ทั้งนี้เพื่อทำให้ชาวนาผู้ได้ชื่อว่า “ชาวนาจน” มีที่ทำกินเป็นของตนเอง และให้การสนับสนุนแก่นโยบายของพรรค เพราะเนื่องจากชาวนาจนถือเป็นกลุ่มชนชั้นที่มีจำนวนมากเมื่อเทียบกับชนชั้นอื่น ต่อมาพรรคได้ดำเนินการระยะที่สองโดยทันที ได้แก่การปฏิรูปที่ดินอย่างจริงจัง แต่ทว่าตลอดการดำเนินการปฏิรูปที่ดินอย่างจริงจังนี้เป็นการดำเนินการที่มีจุดบกพร่องอยู่หลายประการ นอกจากนั้นการดำเนินการปฏิรูปที่ดินทั้ง 2 ระยะนี้เต็มไปด้วยความโหดร้ายทารุณ และที่เลวร้ายที่สุดคือเจ้าของที่ดินซึ่งได้ชื่อว่าเป็นชนชั้น “เจ้าที่ดิน” นั้น ต้องรับชตากรรมโดยตรงจากนโยบายการปฏิรูปที่ดินในครั้งนี้

ผลจากการปฏิรูปที่ดินที่ผิดพลาดนั้น เป็นเหตุให้ชาวเวียดนามต้องสูญเสียทรัพย์สินและเสียชีวิต จนกระทั่งในปี 1956 เริ่มมีรายงานการใช้ความรุนแรง และเกิดกระแสวิจารณ์พรรค ทำให้พรรคต้องหยุดการดำเนินการปฏิรูปที่ดินลง ทั้งนี้เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของพรรคเอาไว้ พรรคจึงนำเอา “การแก้ไขข้อผิดพลาด” ออกปฏิบัติ เริ่มด้วยการลาออกของ เจื่องจิงซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคและผู้รับผิดชอบโดยตรงของนโยบายปฏิรูปที่ดินจนเป็นการสิ้นสุดของนโยบาย

บทความวิจัยฉบับเต็ม