การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทที่อพยพมาจากเวียดนาม: กรณีศึกษา ชาวไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2428-ปัจจุบัน

นางสาวณรินทรา ทุมพงษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัย“การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทที่อพยพมาจากเวียดนาม: กรณีศึกษา ชาวไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2428-ปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ ประการแรก เพื่อศึกษาความเป็นมาของชาวไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ประการที่ 2 เพื่อศึกษาลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ตั้งแต่พ.ศ. 2428 – ปัจจุบัน และประการสุดท้าย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ตั้งแต่พ.ศ. 2428-ปัจจุบัน

ผลการศึกษาพบว่า ชาวไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี มีการอพยพเข้ามายังราชอาณาจักรไทยหลายครั้งตั้งแต่พ.ศ. 2323 สมัยกรุงธนบุรี จนถึงครั้งสุดท้ายในพ.ศ. 2428 สมัยรัชกาลที่ 5 ในช่วงที่เกิดกบฏฮ่อ ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ตั้งแต่พ.ศ. 2428 – ปัจจุบัน มีการถือปฏิบัติพิธีกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การเกิด การบวช การแต่งงาน ไปจนถึงพิธีที่เกี่ยวกับความตาย อย่างไรก็ตามพบว่าปัจจุบันวัฒนธรรมไทยพวนมีการเปลี่ยนแปลงหลายประการโดย ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ตั้งแต่พ.ศ. 2428-ปัจจุบัน มี 2 ปัจจัย คือ นโยบายการพัฒนาท้องถิ่นของภาครัฐ และการเป็นสังคมแบบพหุวัฒนธรรม

บทความวิจัยฉบับเต็ม