ช่องทางการฟังเพลงแนว J-POP ของชาวญี่ปุ่น ในช่วง ค.ศ. 2010-2020

นางสาวกมลรส เดชบริพันธ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัย “ช่องทางการฟังเพลงแนว J-POP ของชาวญี่ปุ่น ในช่วง ค.ศ. 2010-2020” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและช่องทางการฟังเพลงของชาวญี่ปุ่น รวมถึงศึกษาการตลาดของอุตสาหกรรมเพลงในประเทศญี่ปุ่น โดยมีวิธีการศึกษาคือรวบรวมข้อมูลจากเอกสารชั้นรองที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ และนำเสนอในลักษณะพรรณนาวิเคราะห์

ผลการศึกษาพบว่า ตั้งแต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ญี่ปุ่นมีการรับวัฒนธรรมการฟังเพลงจากชาติตะวันตกมาบริโภค และนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาพัฒนากับผลิตภัณฑ์ของตัวเอง จนได้รับความนิยมจากต่างชาติอยู่ในชั่วขณะหนึ่ง ในช่วงปี 2010-2020 มีการใช้ช่องทางการฟังเพลงที่หลากหลาย ทั้งการฟังจากโทรทัศน์ แผ่นเสียง (Vinyl) แผ่นซีดีและช่องทางออนไลน์ แต่กลับพบว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นปีที่คนส่วนใหญ่ทั่วนิยมฟังเพลงผ่านช่องออนไลน์เป็นหลักมากนัก โดยสาเหตุนั้นมีหลายประการไม่ว่าจะเป็น การออกนโยบาย Cool Japan ที่ใช้เผยแพร่วัฒนธรรมของญี่ปุ่นได้ ไม่เต็มที่มากนัก กฎหมายที่มีโทษรุนแรงหากละเมิดลิขสิทธิ์ การที่ญี่ปุ่นผสมผสานความเป็นวัฒนธรรมทั้งเก่าและใหม่เข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว ทำให้ดึงดูดให้ผู้คนหันมาสนใจ แม้จะออกผลงานในรูปแบบไหน พวกเขาก็ยังคงบริโภค ทัศนคติของชาวญี่ปุ่นทั้งความเป็นชาตินิยม รู้สึกอับอายเมื่อซื้อของ ผิดลิขสิทธิ์ ชื่นชอบวัตถุที่จับต้องได้ กลุ่มโอตาคุ (Otaku) ที่หากชื่นชอบสิ่งใดก็จะทุ่มสุดตัวให้กับสิ่งนั้น การตลาดของค่ายเพลงที่ไม่เอื้ออำนวยให้กับการเผยแพร่เพลงผ่านช่องทางออนไลน์มากนัก และสังคมผู้อายุที่ทำให้ปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีประชากรวัยผู้ใหญ่มากกว่าวัยเด็ก ซึ่งพวกเขาไม่ค่อยคุ้นชินกับการฟังเพลงผ่านออนไลน์มากนัก ทำให้ประชากรมีสัดส่วนที่ฟังเพลงผ่านช่องทางนี้น้อย