ความเป็นชาตินิยมในอุตสาหกรรมบันเทิงญี่ปุ่น

โดย นางสาวอรชา พงษ์รักษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องความเป็นชาตินิยมในอุตสาหกรรมบันเทิงญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นชาตินิยมในอุตสาหกรรมบันเทิงญี่ปุ่นและกระบวนการสร้างความเป็นชาตินิยมในอุตสาหกรรมบันเทิง ซึ่งมีวิธีการศึกษาด้วยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและสื่อสิ่งพิมม์ต่างๆ อาทิเช่น หนังสือ บทความจากวารสาร และข้อมูลจากสื่อออนไลน์ต่างๆ มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการศึกษาพบว่าลักษณะของความเป็นชาตินิยมที่ปรากฎในอุตสาหกรรมบันเทิงญี่ปุ่น สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ยุค คือ
ยุคที่ 1 : ยุคบทบาทของอุตสาหกรรมบันเทิงกับการความเป็นญี่ปุ่น (ค.ศ.1930-1940)
ยุคที่ 2 : ยุคบทบาทของอุตสาหกรรมบันเทิงกับความเป็นตะวันตก (ค.ศ.1940-1950)
ยุคที่ 3 : ยุคอุตสาหกรรมบันเทิงเป็นจักรวรรดินิยมของญี่ปุ่น (ค.ศ.1950-2000)
ยุคที่ 4 : ยุคกระแสตอบรับและต่อต้านวัฒนธรรมเกาหลี (ค.ศ.2000-ปัจจุบัน)

และจากการศึกษาพบว่ากระบวนการสร้างความเป็นชาตินิยมดังกล่าวมีการใช้วิธีการที่แตกต่างกันไปตามบริบทของสังคมในแต่ละยุคสมัย โดยมีการใช้วิธีการหรือกระบวนการสร้างความเป็นชาตินิยมดังต่อไปนี้
ยุคที่ 1 : ยุคญี่ปุ่นบนทิศทางของรัฐบาลทหารและชาติตะวันตก
– การตรากฎหมายภาพยนตร์และการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์
– การเซ็นเซอร์ที่เป็นส่วนหนึ่งของกฏหมาย
ยุคที่ 2 : ยุคญี่ปุ่นสร้างชาติและก้าวสู่ความทันสมัย
– การจัดตั้งองค์กรต่างๆ อาทิเช่น องค์กร UNIJAPAN และองค์กร Japan Creative Centre (JCC) ในประเทศสิงค์โปร์ เป็นต้น
– นโยบาย COOL JAPAN ( นโยบายการเรียกคืนความเจ๋งมวลรวมญี่ปุ่น)
ยุคที่ 3 : ยุคญี่ปุ่นขอคืนพื้นที่
– การจัดเทศกาลภาพยนตร์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf