การสร้างสรรค์ผลงานละครในรูปแบบฟิสิคคัลเธียเตอร์ กรณีศึกษาละครเวทีเรื่องเบรกเอ้าท์

โดย นางสาวอัจฉริยา เล็กเพชร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การสร้างสรรค์ผลงานละครในรูปแบบฟิสิคคัลเธียเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานละครเวทีเรื่องเบรกเอ้าท์ รวมถึงอิทธิพลของการเต้นร่วมสมัยที่ปรากฏในละครเวทีเรื่องเบรกเอ้าท์ เพื่อให้เข้าใจถึงการสร้างสรรค์ผลงานละครในรูปแบบฟิสิคคัลเธียเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานละครเวทีเรื่องเบรกเอ้าท์ รวมถึงอิทธิพลของการเต้นร่วมสมัยที่ปรากฏในละครเวทีเรื่องเบรกเอ้าท์ ผู้วิจัยใช้การชมผลงานละครเวทีเรื่องเบรกเอ้าท์ในรูปวิดีทัศน์บันทึกภาพการแสดง สื่อประชาสัมพันธ์ และบทความที่เกี่ยวข้องกับงานละคร

ผลการศึกษาพบว่างานละครในรูปแบบฟิสิคคัลเธียเตอร์ ใช้เทคนิคของการเต้นร่วมสมัยมาใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะการละครสมัยใหม่ ซึ่งงานละครเวทีเรื่อง เบรกเอ้าท์ ได้ใช้เทคนิคของการเต้นร่วมสมัยเป็นส่วนสำคัญในการนำเสนอ โดยเทคนิคการเต้นร่วมสมัยที่ปรากฏในงานละครเรื่องนี้ ก็คือการเต้นประเภทสตรีทแดนซ์ โดยประเภทของการเต้นสตรีทแดนซ์ที่ปรากฏในละครเวทีเรื่อง เบรกเอ้าม์ มีทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่ การเต้นประเภทเบรกแดนซ์ และการเต้นประเภทป๊อปปิน โดยการเต้นประเภทเบรกเดนซ์จะปรากฎให้เห็นในละครมากที่สุด ซึ่งท่าเต้นที่นักแสดงใช้ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะ Power move โดยการเต้นในลักษณะนี้จะเน้นการเต้นที่ใช้พลังของ ร่างกายและแรงเหวี่ยง นอกจากนี้ในบางส่วนของการแสดงนั้นนักแสดงก็ยังมีการใช้เทคนิคการเต้น Slow motion ในการเต้นประเภทป๊อปปินมาช่วยให้การแสดงน่าสนใจมากขึ้น สำหรับในช่วงสุดท้ายของการแสดงในแต่ละฉาก นักแสดงจะใช้เทคนิคการเต้นประเภท Freeze Move ซึ่งก็คือเป็นท่าจบ โดยนักแสดงจะหยุดโพสท่าต่างๆ เมื่อต้องการที่จะทาการจบการเต้น หรือ ต้องการหยุดตามจังหวะเพลง มาเป็นส่วนช่วยให้การแสดงดูน่าสนใจมากขึ้น

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf