การศึกษานวนิยายแปลเกาหลีเรื่อง “แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง”

โดย นางสาวสิริกร ทองมาตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องการศึกษานวนิยายแปลเกาหลีเรื่องแดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของวรรณกรรม อันได้แก่ กลวิธีการประพันธ์ โครงเรื่อง แก่นเรื่อง ตัวละคร บทสนทนา ฉาก การใช้ภาษา และเพื่อศึกษาคุณค่า ของนวนิยายแปลเกาหลีเรื่อง แดจังกึม จองนางแห่งวังหลวงโดยใช้ทฤษฎการวิเคราะห์องค์ประกอบเรื่องสั้นและนวนิยาย มาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์

ผลการศึกษาสรุปได้ว่า องค์ประกอบของวรรณกรรมของนวนิยายเรื่องนี้ อันได้แก่ กลวิธีการประพันธ์เป็นแบบผู้รู้แจ้ง โครงเรื่องใหญ่ซึ่งเป็นปมปัญหาสำคัญจะสัมพันธ์กับแก่นเรื่องคือเมื่อมีความมานะอดทนและพยายามกระทำการสิ่งใดก็จะสำเร็จ ส่วนโครงเรื่องย่อยจะแทรกอยู่ในโครงเรื่องใหญ่ ปรากฏความสัมพันธ์ต่างๆ ที่คลี่คลายในตอนจบตัวละครประกอบนั้นจะมีทั้งตัวละครน้อยลักษณะและตัวละครแบบหลายลักษณะ บทสนทนาในเรื่องก็จะแสดงลักษณะนิสัยของตัวละครและช่วยให้เรื่องดำเนินไปอย่างน่าติดตามและเข้าใจได้ง่าย โดยมีฉากและบรรยากาศช่วยในการจินตนาการให้แก่ผู้อ่าน รูปแบบของการใช้ภาษาใช้ทั้งรูปแบบโวหารและภาพพจน์ในการแต่งเพื่อให้จินตภาพแก่ผู้อ่านและเข้าใจถึงสิ่งที่ผู้แต่งต้องการสื่อสาร และคุณค่าที่ได้จากการศึกษานวนิยายเรื่องนี้แบ่งออกเป็น 4 ด้านคือ คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ ด้านวัฒนธรรม ด้านปรัชญาชีวิต และด้านสำเริงอารมณ์

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf