การศึกษาทำเลที่ตั้งและกลยุทธ์การตลาดของร้านค้าปลีก กรณีศึกษา MaxValu

โดย นางสาววลัยลักษณ์ ทับนาโคก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย คือ เพื่อการศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดของร้านค้าปลีกแมกซ์แวลู (MaxValu) และศึกษาและวิเคราะห์กลยุทธ์ในการเลือกทำเลที่ตั้งในการตั้งร้านค้าปลีกแมกซ์แวลู (MaxValu) ตลอดจนศึกษาแนวโน้มการขยายตัวของร้านค้าปลีกแมกซ์แวลู (MaxValu)ในอนาคต อีกทั้งเปรียบเทียบกลยุทธ์การตลาดจากร้านขายปลีกที่อยู่ในประเทศไทยและมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยอาศัยข้อมูลจากจากข้อมูลที่รวบรวมจากบทความ หนังสือต่างๆ ข้อมูลฐานออนไลน์ ที่เกี่ยวข้อง การลงสถานที่จริง และแสดงผลในแบบของตัวเลขแผนภูมิ และกราฟ

ผลจากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันธุรกิจค้าปลีก(Retailing)มีความเจริญก้าวหน้าและเป็นที่นิยม เพราะมีทั้งกิจการขนาดเล็ก(ConvenienceStore) และขนาดใหญ่(Supermarket) อีกทั้งธุรกิจการค้าปลีกขนาดย่อยกำลังเป็นที่นิยมในการทำธุรกิจ ในปัจจุบันร้านค้าปลีกมีมากขึ้น และได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากความสะดวกที่เปิดถึง 24 ชั่วโมงอย่างเช่น เซเว่นอีเลฟเว่น(Seven-Eleven)แฟมิลี่มาร์ท(Family Mart) มินิบิ๊กซี(Mini BigC) โลตัสเอ็กเพรส(Lotus Express)Lawson(108Shop) ที่ผู้คนพบเห็นได้ทั่วไป และที่น่าจับตามองคือ แม็กซ์แวลู(MaxValu)โดยแบ่งเป็นขนาดเล็กและขนาดใหญ่ MaxValuSupermaket ( แมกซ์แวลู ซูเปอร์มาเก็ต) เป็นรูปแบบที่เต็มรูปแบบของซูเปอร์มาร์เก็ตมีพื้นที่โดยประมาณ 1,000-3,000 ตารางเมตร และMaxValuTanjai ( แมกซ์แวลู ทันใจ) เป็นรูปแบบมินิขนาดของซูเปอร์มาร์เก็ตมีพื้นที่โดยประมาณ 300-800 ตารางเมตร โดยส่วนใหญ่MaxValuTanjai ( แมกซ์แวลู ทันใจ) ทำการเปิดในทำเลละแวกคอนโดและMaxValuSupermaket ( แมกซ์แวลู ซูเปอร์มาเก็ต) ในบริเวณคอมมูนิตี้ใหม่ๆและบริเวณที่ยังไม่มีร้านค้าใดๆเข้าไปลงทุน กลยุทธ์การตลาดเป็นแบบเน้นเป็นซูเปอร์มาเก็ตย่อส่วน ไม่ใช่เพียงร้านสะดวกซื้อเพราะมีอาหารปรุงสดใหม่ มีผักผลไม้ และโอกาสการขยายตัวของแม็กซ์แวลู(MaxValu) ในอนาคตก็ดูมีไม่มากเท่ากับของร้านค้าปลีกอื่นๆเพราะเน้นในบริเวณกรุงเทพและปริมณฑลที่มีจำนวนแรงซื้อทางการเงินมากและเน้นความสะดวกเท่านั้นเนื่องจากต่างจังหวัดมีแบรนด์อื่นที่เป็นที่นิยมมากกว่า และการตลาดที่เน้นความเป็นซูเปอร์มาเก็ตขนาดย่ออาจใช้ไม่ได้กับต่างจังหวัดที่มีอาหารที่สดใหม่และราคาถูกกว่า

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf