การศึกษารูปแบบตลาดปลาซึคิจิและตลาดกลางโอซาก้า

โดย นางสาวศรัญญา แต่งตามพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย คือ การศึกษาความเป็นมา ลักษณะที่ตั้งของตลาดทั้งสองแห่งนี้คือตลาดซึคิจิและตลาดกลางโอซาก้า รวมถึงศึกษาวิธีการประมูลซื้อขายปลาและศึกษากลุ่มลูกค้าเป้าหมายและพฤติกรรมการเลือกซื้อปลาของตลาดทั้งสองแห่งนี้โดยอาศัยข้อมูล จากข้อมูลที่รวบรวมจากบทความ และ หนังสือต่างๆ ข้อมูลฐานออนไลน์ ที่เกี่ยวข้อง

ผลจากการศึกษาพบว่าตลาดปลาในญี่ปุ่นใช้วิธีให้ผู้ซื้อเสนอราคาพร้อมกันทุกแห่ง จะต่างกันก็ในรายละเอียดปลีกย่อย เหมือนการซดโซบะที่ผู้คนแต่ละเมืองมีลีลาของตัวเอง ที่โอซาก้า จะเขียนราคาประมูลไว้บนกระดาน กรณีที่มีผู้เสนอราคาเท่ากันจะตัดสินด้วยการเป่ายิ้งฉุบ ที่ซัปโปโร ผู้ประมูลจะกดปุ่มเสนอราคาผ่านจอดิจิตอลขนาดเล็ก ส่วนโฆษกประมูลจะเขียนตอบบนแผ่นกระดาษยาวที่ชูให้ผู้ซื้อดูซึ่งการซื้อขายปลามี 2 รูปแบบ คือ 1.การประมูลปลาโดยการส่งสัญญาณโดยภาษามือ 2.การตกลงกันเองระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเหล่าพ่อค้าที่มาประมูลปลาใช่ว่าใครก็สามารถเข้าร่วมประมูลได้ พ่อค้าทุกคนจะต้องรับใบอนุญาตประมูลปลาที่ออกให้โดยเทศบาลนครโตเกียวบริษัทค้าอาหารทะเลรายใหญ่ๆ ในตลาดซึคิจิมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการในภาษาญี่ปุ่นว่า ซุยซัน (แปลว่า “ธุรกิจอาหารทะเล”) แต่ละบริษัทมีขนาดมหึมา ควบคุมการค้าของสดเกือบทั้งหมดในตลาดซึคิจิ รวมถึงตลาดกลางโอซาก้าด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ จึงเท่ากับควบคุมธุรกิจอาหารทะเลเกือบทั้งหมดในญี่ปุ่นด้วย  ตลาดทั้งสองแห่งนี้พฤติกรรมการเลือกซื้อปลาของบรรดาพ่อค้ามีลักษณะที่เหมือนกัน  ปลาทูน่าที่นอนรอการประมูลนั้นจะมีตัวเลขบอกลำดับที่จะประมูลและจะมีกระดาษสีเหลืองติดอยู่ซึ่งบอกแหล่งที่มาของปลาตัวนั้นๆ  ถ้าเป็นปลาในประเทศก็ต้องบอกว่ามาจากท่าเรือเมืองไหนและระบุด้วยว่าเป็นปลาเลี้ยงหรือปลาธรรมชาติ และสุดท้ายก็จะบอกน้ำหนักของปลาตัวนั้นๆด้วย ในห้องประมูลปลานั้นจะมีอากาศที่เย็นจัด เพราะต้องเก็บรักษาความสดของปลาไว้

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf