บทบาททางการทหารของมินาโมโตะ โยริโตโมะระหว่างค.ศ. 1180-1199

โดย นายสุทธิพจน์ ธีรสุวรรณจักร บทคัดย่อ บทความเรื่อง “บทบาททางการทหารของมินาโมโตะ โยริโตโมะระหว่างค.ศ. 1180-1199” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่นำไปสู่การมีบทบาททางการทหารของมินาโมโตะ โยริโตโมะ รวมทั้งศึกษาบทบาทการเป็นโชกุนของมินาโมโตะ โยริโตโมะระหว่างค.ศ. 1192-1199 ทั้งนี้ได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารชั้นรองที่ประกอบด้วยหนังสือทั้งในรูปแบบภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และสื่อออนไลน์ โดยผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้มินาโมโตะ โยริโตโมะเข้ามามีบทบาททางการทหารในประเทศญี่ปุ่น เกิดจากการที่เจ้าชายโมชิฮิโตะได้ออกประกาศให้มินาโมโตะ โยริโตโมะมาช่วยรบต่อสู้ตระกูลไทระ มินาโมโตะ โยริโตโมะเป็นผู้นำทัพของตระกูลมินาโตะ การต่อสู้ครั้งนี้เป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่น เรียกว่าสงครามเก็นเปย์ สงครามเก็นเปย์มีระยะเวลายาวนานระหว่างตระกูลมินาโมโตะและตระกูลไทระ ซึ่งผลก็คือมินาโมโตะ โยริโตโมะเป็นฝ่ายชนะ และได้ตั้งรัฐบาลทหารที่เมืองคะมะกุระ ต่อมามินาโมโตะ โยริโตโมะได้รับการแต่งตั้งเป็นเซอิไทโชกุนในค.ศ.1192 และได้สถาปนารัฐบาลบากุฟุซึ่งถือเป็นจุดสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นระบอบการปกครองโดยรัฐบาลทหารที่ยาวนานกว่า 600 ปี ดาวน์โหลด บทความวิจัย

ลัทธิจูเช่ในเกาหลีเหนือ ค.ศ. 1912-2011

โดย นางสาวอรทิพา  ลี้เทียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ เพื่อศึกษาถึงการนำหลักการอุดมการณ์ลัทธิจูเช่ ซึ่งเป็นอุดมการณ์ที่นายคิมอิลซองเป็นผู้คิดขึ้น อีกทั้งเพื่อศึกษาระบอบคอมมิวนิสต์ของตระกูลคิม หลังจากที่ทั้งสองเกาหลีได้แยกออกเป็น 2 ประเทศและได้ก่อตั้งประเทศใหม่ในปี 1948

Read more

วิถีชีวิตชาวเกาหลีเหนือภายใต้การปกครองของตระกูลคิม ค.ศ.1953-2011

โดย นางสาวเอื้อการย์ วาทหงษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ เพื่อศึกษาระบอบคอมมิวนิสต์ของประเทศเกาหลีเหนือและวิถีชีวิตของชาวเกาหลีเหนือภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ของตระกูลคิม หลังจากทั้งสองเกาหลีได้แยกเป็นสองประเทศและได้ก่อตั้งประเทศในปี 1948

Read more

จีนกับการรวมเกาหลีในยุค 3 ก๊ก

โดย นายสกนต์ธร ตนายะพันธุ์ 

บทคัดย่อ   

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษา เพื่อวิเคราะห์และศึกษาปัจจัยต่างๆที่ทำให้ประเทศจีนเข้ามามีบทบาทในการรวบรวมแผ่นดินของเกาหลี และบทบาทภายหลังที่ประเทศจีนได้เข้ามามีส่วนในการรวมอาณาจักรเกาหลีในยุคสามก๊ก

Read more

ชุน เต อิล กับการต่อสู้เพื่อชนชั้นแรงงานเกาหลีใต้ (1960 – 1987)

โดย นางสาวอนงค์ วัฒนานุสรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่อง ชุน เต อิล กับการต่อสู้เพื่อชนชั้นแรงงานเกาหลีใต้ (1960-1987)  มีวัตถุประสงค์การศึกษาคือ เพื่อศึกษาปัจจัยการก่อตัวทางชนชั้นแรงงานในเกาหลีใต้ ศึกษาบทบาทของแรงงานต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ และศึกษาสาเหตุของการประท้วง ความคิดของ ชุน เต อิล รวมทั้งผลกระทบจากการประท้วงของ ชุน เต อิล ที่เกิดขึ้นกับประเทศและแรงงานชาวเกาหลีใต้

Read more

บทบาทของ เติ้ง เสี่ยวผิง ในการปรับปรุงพรรคคอมมิวนิสต์จีนหลังการถูกจับกุมของแก๊งค์ 4 คน

โดย นายนพปภพ  หังษาภิบาล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์  สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้ เติ้ง เสี่ยวผิงคิดทำการปรับปรุงพรรคคอมมิวนิสต์จีน  รวมทั้งศึกษาบทบาทและขั้นตอนในการทำการปรับปรุงพรรคคอมมิวนิสต์จีนหลังการถูกจับกุมของแก๊งค์ 4 คน ของ เติ้ง เสี่ยวผิง ที่นำแนวคิดผสมผสานระหว่างทุนนิยมและสังคมนิยมได้อย่างประสบผลสำเร็จด้วยทฤษฎีเติ้งเสี่ยวผิง

Read more

การเปรียบเทียบภาวะผู้นำของจักรพรรดินีบูเช็กเทียนกับพระนางซูสีไทเฮาจากพระราชกรณียกิจ

โดย นางสาวนฐวรท หมดมลทิน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การเปรียบเทียบภาวะผู้นำของจักรพรรดินีบูเช็กเทียนกับพระนางซูสีไทเฮาจากพระราชกรณียกิจ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและพระราชกรณียกิจในด้านต่างๆของ  จักรพรรดินีบูเช็กเทียนแห่งราชวงศ์ถังและพระนางซูสีไทเฮาแห่งราชวงศ์ชิง รวมทั้งวิเคราะห์เปรียบเทียบหาผู้ที่มีภาวะผู้นำมากที่สุดจากพระราชกรณียกิจดังกล่าว โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่พระนางบูเช็กเทียนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮองเฮาจนกระทั่งสวรรคต และพระนางซูสีไทเฮาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮองเฮาตะวันตกจนกระทั่งสวรรคต

Read more

ปัจจัยที่มีผลต่อการปกครองระบอบอำนาจนิยมในสาธารณรัฐเกาหลีของประธานาธิบดี อี ซึงมันช่วง ค.ศ.1948-1960

โดย นางสาวณัฏฐนิชา จันทร์สระแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาประวัติและภูมิหลังของประธานาธิบดี อี ซึงมัน ประการที่สอง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความคิดทางการเมืองของประธานาธิบดี อี ซึงมันจากประวัติศาสตร์ที่ชาวเกาหลีได้ต่อสู้จากการรุกรานของชาวญี่ปุ่นเพื่อให้ได้เอกราช ทำให้ชาวเกาหลียึดมั่นในอุดมการณ์รรักชาติ จนกระทั่งได้รับเอกราช โดยนำระบอบประชาธิปไตยมาเป็นหลักในการปกครอง

Read more