สถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติของประเทศเกาหลีใต้ที่นิยมในแต่ละฤดู

ศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่นิยมของประเทศเกาหลีใต้ และศึกษาสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อการไปเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ

พัฒนาการในเรื่องของความนิยมในการแต่งหน้าของผู้หญิงเกาหลี

เพื่อศึกษาพัฒนาการและลักษณะการแต่งหน้าของผู้หญิงเกาหลีตั้งแต่ยุคสามอาณาจักรจนถึงปัจจุบัน

กลวิธีการแปลชื่ออาหารเกาหลีเป็นภาษาไทย: กรณีศึกษาร้านอาหารเกาหลี “ดูเร” ในประเทศไทย

เพื่อศึกษากลวิธีการแปลชื่ออาหารเกาหลีเป็นภาษาไทยและศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการแปลชื่ออาหารเกาหลีเป็นภาษาไทย

ฮันบก: การเปลี่ยนแปลงความหมายจากอดีตถึงปัจจุบัน

ศึกษาความหมายและองค์ประกอบของชุดฮันบกนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวมไปถึงปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความหมายและองค์ประกอบของชุดฮันบก

การศึกษาเครื่องทองในยุคสามอาณาจักร: กรณีศึกษาสุสานพระเจ้ามูรยอง

ศึกษารูปแบบ ความหมาย และลักษณะของเครื่องทองในสมัยอาณาจักรแพ็กเจ

ปัจจัยที่มีผลต่อการปกครองระบอบอำนาจนิยมในสาธารณรัฐเกาหลีของประธานาธิบดี อี ซึงมันช่วง ค.ศ.1948-1960

โดย นางสาวณัฏฐนิชา จันทร์สระแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาประวัติและภูมิหลังของประธานาธิบดี อี ซึงมัน ประการที่สอง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความคิดทางการเมืองของประธานาธิบดี อี ซึงมันจากประวัติศาสตร์ที่ชาวเกาหลีได้ต่อสู้จากการรุกรานของชาวญี่ปุ่นเพื่อให้ได้เอกราช ทำให้ชาวเกาหลียึดมั่นในอุดมการณ์รรักชาติ จนกระทั่งได้รับเอกราช โดยนำระบอบประชาธิปไตยมาเป็นหลักในการปกครอง

Read more

เทศกาลชูซ็อก : วันเซ่นไหว้บรรพบุรุษของชาวเกาหลี

โดย นางสาวพจนารถ เนียมยิ้ม บทคัดย่อ บทความวิจัยเรื่อง “เทศกาลชูซ็อก : วันเซ่นไหว้บรรพบุรุษของชาวเกาหลี” มีวัตถุประสงค์ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของเทศกาลชูซ็อก และแนวความคิด ความเชื่อสำคัญที่มีอิทธิพลต่อเทศกาลนี้ โดยศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลชูซ็อก และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของการเทศกาลดังกล่าว การศึกษาพบว่าเทศกาลชูซ็อกเกิดจากการที่ชาวเกาหลีได้รับอิทธิพลจากแนวคิดแบบขงจื่อจากประเทศจีนที่เน้นการเคารพผู้สูงอาวุโสรู้จักกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีพระคุณ เน้นเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว และเรื่องระเบียบแบบแผนจารีตต่าง ๆ ผสมเข้ากับความเชื่อดั้งเดิมของเกาหลีคือ วิญญาณนิยม ทำให้เกิดพิธีการเซ่นไหว้ขึ้น ในเทศกาลชูซ็อกนั้น การเซ่นไหว้บรรพบุรุษทำเพื่อ ขอพรให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ให้คอยปกป้องดูแลลูกหลานจากอันตรายต่าง ๆ และขอให้ผลผลิตทางการเกษตรอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งแสดงความเคารพและระลึกถึงบรรพบุรุษของตนเอง เทศกาลชูซ็อกยังเป็นโอกาสดีที่คนในครอบครัวจะมารวมตัวกัน พูดคุย และทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในครอบครัวอีกด้วย ทำให้เทศกาลนี้มีความสำคัญกับชาวเกาหลีเป็นอย่างมาก ดาวน์โหลด บทความวิจัย

ความเชื่อเกี่ยวกับพระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ของคนเกาหลี

โดย นางสาวรจเรข  ยวงอักษร

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับพระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ของคนเกาหลี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของการนับถือบูชาพระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ของชาวเกาหลี และเพื่อศึกษาความคิด ความเชื่อของชาวเกาหลีที่มีต่อพระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์

Read more

ความคิดความเชื่อในพิธีกรรมการฉลองอายุของคนเกาหลี

โดย นางสาวภัทร์ธีรา  กัลยาวุฒิพงศ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบพิธีกรรม และข้อกำหนดของพิธีกรรมฉลองอายุ และ เพื่อศึกษาความคิด ความเชื่อที่ปรากฏในพิธีกรรมในแต่ละช่วงอายุ

Read more

การรวมชาติเกาหลีสมัยประธานาธิบดีคิม เดจุง

โดย นางสาวโศภิตา   โศภิตพงศ์

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษาการรวมชาติระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ โดยเฉพาะในสมัยประธานาธิบดีคิม เดจุง ซึ่งผลการศึกษาพบว่าการรวมชาติของประธานาธิบดีคิม เดจุงที่มีเรื่องการรวมชาติเด่นชัดที่สุดคือนโยบายซันชาย แต่ถึงกระนั้นแล้ว การรวมชาติระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ยังคงไม่สามารถทำได้สำเร็จจนถึงปัจจุบัน

Read more

แนวคิดในการปฏิรูปการศึกษาของสาธารณรัฐเกาหลี (ช่วงปี ค.ศ. 1994 – ปัจจุบัน)

โดย นางสาววรัญญา มีชอบ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิรูปการศึกษาของสาธารณรัฐเกาหลี ในช่วงปี ค.ศ. 1994 – ปัจจุบัน และศึกษาวิเคราะห์แนวคิดทางปรัชญาและแนวคิดทางศาสนาที่สอดคล้องกับแนวคิดในการปฏิรูปการศึกษาของสาธารณรัฐเกาหลี โดยการศึกษาวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลจากสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งหนังสือ บทความทางวิชาการ เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ เอกสารบนฐานข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต

Read more

แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังชนชั้นแรงงานเกาหลีใต้

โดย นางสาวภรภัค สาครินทราชัย บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการ ลักษณะเฉพาะ และการเคลื่อนไหวของชนชั้นแรงงานในประเทศเกาหลีใต้ในช่วงทศวรรษ 1920 หรือยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมของคาบสมุทรเกาหลีจนถึงปัจจุบัน ศึกษาแนวคิดสำคัญที่มีอิทธิพลทำให้แรงงานเกาหลีใต้ก่อตัวเป็นแรงงานที่มีจิตสานึกในชนชั้น มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น และประสบความสำเร็จในการปฏิวัติมากกว่าแรงงานในประเทศอุตสาหกรรมในเอเชียตะวันออกที่มีลักษณะสังคมคล้ายกัน และประเทศกำลังพัฒนาในที่อื่นๆ โดยผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารที่กล่าวถึงสภาพสังคมเกาหลี สภาพของแรงงานเกาหลี รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวกับแนวความคิดต่างๆ คือ วัฒนธรรมขงจื่อ ทฤษฎีพึ่งพาและเทววิทยาแห่งการปลดปล่อยของละตินอเมริกา และทฤษฎีมาร์กซิส แล้วจึงนำผลการศึกษาทางด้านสังคมมาวิเคราะห์ร่วมกับแนวความคิด ผลการวิจัยพบว่า กระบวนแรงงานในเกาหลีมีพัฒนาการเริ่มจากในทศวรรษที่ 1920 ที่ประเทศญี่ปุ่นได้นำระบบอุตสาหกรรมเข้ามาในประเทศเกาหลีใต้เป็นครั้งแรก เริ่มก่อตัวเป็นกรรมาชีพในทศวรรษที่ 1960 และปฏิวัติในทศวรรษที่ 1980 โดยมีลักษณะเฉพาะคือ มีการประท้วงที่รวดเร็วและรุนแรง และจากการศึกษาแนวคิดพบว่า วัฒนธรรมขงจื่อได้ถูกชนชั้นนายทุนนามาใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมแรงงาน ทฤษฎีพึ่งพาและเทววิทยาแห่งการปลดปล่อยของละตินอเมริกา ได้ถูกนำเข้ามาโดยองค์กรคริสต์ศาสนา มีส่วนช่วยเหลือในการเรียกร้องสิทธิของแรงงานในทศวรรษที่ 1960-1980 และทฤษฎีมาร์กซิสถูกนำเข้ามาใช้ในการเรียกร้องโดยนักศึกษาในทศวรรษที่ 1980 ดาวน์โหลด บทความวิจัย