บทบาทของผู้หญิงและอัตลักษณ์ในคณะละครเวทีหญิงล้วน “Takarazuka”

โดย นายนที  วายะมะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างและจุดเด่นในการสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมญี่ปุ่น  ตลอดจนการแสดงพฤติกรรม การแสดงความคิดเห็น และการใช้ประโยชน์จากการบริโภควัฒนธรรม การศึกษาเป็นการทำวิจัยที่วิธีการวิเคราะห์รูปแบบอัตลักษณ์ที่อยู่ในองค์ประกอบของรูปลักษณ์ ความบันเทิง พฤติกรรมที่แสดงออกต่อสังคม และรูปแบบการดำเนินชีวิตในบริบทของการสื่อสารระหว่างกัน การใช้ประโยชน์จากการบริโภควัฒนธรรมญี่ปุ่นและพฤติกรรมที่แสดงออกต่อกันในโลกแห่งความเป็นจริง

ผลการวิจัยพบว่าในวัฒนธรรมญี่ปุ่นมักมีการสร้างสัญลักษณ์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของตนเองที่บ่งบอกถึงความชัดเจนในวัฒนธรรมของตน แม้จะรับจากต่างชาติเข้ามาแต่ก็ไม่ได้รับมาทั้งหมด นอกจากนี้การมีบทบาทในสังคมในมุมของคณะละครทากะระซึกะก็มองว่าสตรีเพศอาจไม่ได้ถูกยอมรับจากสังคมในแง่ของการมีสิทธิที่จะแสดงตัวตนออกมาได้อย่างโจ่งแจ้ง การมองว่าคณะละครนี้เป็นเลี้ยสเบี้ยน

ข้อพิจารณาแสดงว่าปฏิกริยาของนักสตรีนิยมที่เป็นต้นปัญหานั้น หากเข้าใจว่าเป็นเรื่องของอํานาจเหนือเนื้อตัวร่างกายของตัวผู้หญิงเองในลักษณะของเสรีนิยม เนื่องจากการนิยามว่าผู้หญิง เป็น “สัต” ที่มีอัตตาณัติเป็นการสร้างให้ผู้หญิงเป็น subjects who are presumed to be  masculine แต่หากนําการวิเคราะห์ของอังกฤษที่อาศัยการอ้างอิงถึง “เพศ” มาช่วยเพิ่มความลุ่มลึก ก็ยังคงประสบปัญหาตรงที่ “เพศ” นี้ก็เป็นผลผลิตทางวาทกรรมที่เกิดจาก อํานาจอันกดขี่ผู้หญิง การนําผลผลิตของวาทกรรมมาท้าทายวาทกรรมที่เป็นที่มาจึง เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ในทางตรงข้ามการใส่ “เสื้อผ้าที่ไม่มิดชิดเผยให้เห็นผิวพรรณของนักแสดง” กลับเป็นการแสดงที่เน้นย้ำความสัมพันธ์ทางอํานาจเดิมที่หญิงต้องตอบสนองความปรารถนาทางเพศของชาย

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf