นิยายออนไลน์จอยลดา(Joylada) พื้นที่ของการสร้างจินตนาการความเป็นเพศ ของศิลปิน K-pop กรณีศึกษา : แทยง วง NCT

ศึกษาเรื่อง ภาพแทนของแทยง วง NCT เกี่ยวกับเรื่องความรักความใคร่ และโลกทัศน์ของผู้เขียนนิยายจอยลดา

ความเป็นผู้หญิงญี่ปุ่นในสมัยปัจจุบัน

โดย นางสาวจินต์จุฑา ศรีสนิท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง  ความเป็นผู้หญิงญี่ปุ่นในสมัยปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาภาพลักษณ์ของผู้หญิงที่ถูกผลิตซ้ำผ่านทางละครโทรทัศน์  และศึกษาความแตกต่างของชีวิตพนักงานหญิงญี่ปุ่น โดยใช้แนวความคิดสตรีนิยมสายหลังสมัยนิยม แนวความคิดเรื่องเพศภาวะและเพศวิถี และเอกสารที่เกี่ยวกับสื่อกับผู้หญิงในการวิเคราะห์

Read more

เทคนิคการนำเสนอความเป็นเพศในการ์ตูนญี่ปุ่น กรณีศึกษา การ์ตูนเรื่อง “เกาะคนตาย”

โดย นายจารุวัตร์ ชัยประสิทธิกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคที่ใช้ในการนำเสนอความเป็นเพศในการ์ตูนญี่ปุ่น โดยศึกษาจากลักษณะของเพศสภาวะ เพศวิถีจากแนวคิดสตรีนิยม และศึกษาเทคนิคในการเขียนการ์ตูนทั้งด้านการใช้ลายเส้น คำพูด ฉากบรรยากาศ สัญลักษณ์ รวมไปถึงกลวิธีในการดำเนินเรื่อง จากแนวคิดเชิงสัญญวิทยา ที่ปรากฏในหนังสือการ์ตูนเรื่อง “เกาะคนตาย” เล่ม 1-6 เท่านั้น แล้วนำมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกัน

Read more

บทบาทของผู้หญิงและอัตลักษณ์ในคณะละครเวทีหญิงล้วน “Takarazuka”

โดย นายนที  วายะมะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างและจุดเด่นในการสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมญี่ปุ่น  ตลอดจนการแสดงพฤติกรรม การแสดงความคิดเห็น และการใช้ประโยชน์จากการบริโภควัฒนธรรม

Read more

ซูสีไทเฮาผู้กุมอำนาจแห่งจีน

โดย นางสาวภัทรภร ธัญธรรมรัตน์

บทคัดย่อ

บทความเรื่องซูสีไทเฮาผู้กุมอำนาจแห่งจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพศสภาวะและเพศวิถีของผู้หญิงชนชั้นสูง (ซูสีไทเฮา) ที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง รวมทั้งวิเคราะห์บริบทและปัจจัยที่กำหนด เพศสภาวะและเพศวิถีของผู้หญิงชนชั้นสูง (ซูสีไทเฮา) โดยการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ อาทิ หนังสือ บทความจากวารสาร บทความทางวิชาการ เอกสารประกอบการเรียนและข้อมูลจากสื่อออนไลน์ต่างๆ รวมทั้งนำกรอบความคิดสตรีนิยม แนวความคิดเรื่องเพศสภาวะและเพศวิถีมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล

Read more

เพศภาวะในมังงะวายและอะนิเมะวาย

โดย นางสาวจันทร์จิรา ปัญญาภวกุล บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยเรื่อง “เพศภาวะในมังงะวายและอะนิเมะวาย” นั้น มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อศึกษาความเป็นมาและลักษณะทางวัฒนธรรมของYaoi และ Yuri รวมถึงวิเคราะห์ Yaoi และ Yuri ในด้านเพศภาวะและเพศวิถี โดยมีวิธีการศึกษาเก็บข้อมูลแบบทุติยภูมิจากเอกสารที่เป็นสื่อตีพิมพ์ เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์ (วิทยานิพนธ์) และอินเทอร์เน็ต และมีการนำแนวคิดสตรีนิยม (Feminism) และแนวคิดเควียร์ (Queer Theory) มาเป็นกรอบความคิดในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าความเป็นมาของ Yaoi (ยาโอ้ย/ยะโออิ) นั้น สามารถแบ่งออกได้ 3 ยุคด้วยกัน คือ ยุคบุกเบิก (ช่วงปี1960) โดยในยุคนี้ได้ปรากฏภาพวาดความสัมพันธ์ทางกายเชิงสังวาสระหว่างเพศชายกับเพศชายด้วยกัน โดยไม่มีเนื้อเรื่องเล่า/บรรยายแต่อย่างใด เป็นเพียงภาพวาดที่ใช้ในการระบายความอัดอั้นของผู้หญิงญี่ปุ่นเท่านั้น ต่อมาในยุคการเปลี่ยนแปลง(ช่วงปลายปี1970) คาว่า “Yaoi” ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นโดยเป็นคำที่ย่อมาจาก Yamanasi Ochinashi Iminashi (ยามะนะฉิ โอฉินาชิ อิมินาชิ) แปลว่า ไม่มีเนื้อเรื่องหลัก ไม่มีความหมาย ไม่มีไคลแมกซ์ ซึ่งเป็นภาพวาดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ทางกายในเชิงสังวาสระหว่างชายกับชายด้วยกัน โดยเป็นการล้อเลียนโครงสร้างของงานเขียนโคลงจีนยุคเก่า และในยุคนี้ก็ได้มีการจัดตั้งกลุ่ม “Boy … Read more